Dekdee.com

วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เพลงแนว อินดี้ คืออะไร?

".. “เพลงอินดี้” เชื่อว่าหลายคนคงอยากรู้ว่า เพลงอินดี้ คืออะไร? หมายถึงอะไร? โดยรากศัพท์ เพลงอินดี้ มาจากคำว่า Independent หมายถึง อิสระ ดังนั้นตามความหมายแล้ว เพลงอินดี้ หรือดนตรีอินดี้ก็คือดนตรีที่ผู้ผลิตคิดเองและทำเองอย่างมีอิสระ ปัจจุบันคำว่า เพลงอินดี้ ค่อยๆ แทรกซึมเข้าไปทำความรู้จักกับแฟนเพลงที่เบื่อดนตรีแนวเดิมๆ อยากหาสิ่งแปลกใหม่

         เพลงอินดี้ (อิสระ) มาจากวงดนตรีอิสระ และนักดนตรีอิสระ (Independent Music from Independent Bands and Independent Musicians) น่าจะเป็นคำจำกัดความของความเป็น “อินดี้” ที่รวบรัด



ต้นกำเนิด “เพลงอินดี้” เกิดขึ้นมาจาก…

         ในยุคหนึ่งของวงการเพลง มีแต่แนวดนตรีสไตล์เดิมๆ ทำให้คนกลุ่มหนึ่งที่มีรสนิยมการฟังเพลง ไม่ชอบอะไรซ้ำซาก คนกลุ่มนี้จึงพยายามแหวกแตกต่าง พูดง่ายๆ ก็คือต่อต้านกระแสหลัก หันไปทำดนตรีอะไรที่ตัวเองชอบ ทำให้ดนตรีมีแนวหลากหลายมากขึ้น

         แต่ทุกวันนี้คนสับสนกันมาก กับคำว่า “เพลงอินดี้” จริงๆ แล้ว คำว่าอินดี้มันเป็นระบบการทำงาน ที่ว่าไม่ยึดติดค่าย มีอิสระในการทำงานสูง ไม่ใช่แนวเพลงใดๆ ทั้งสิ้น เหมือนคนสับสนคิดว่า Chill Out คือชื่อแนวเพลง ซึ่งความจริงมันเป็นอารมณ์ต่างหาก ดังนั้นเพลงอินดี้ อาจเป็น แร๊ป ร๊อค ฮิปฮอป อิเล็คโทรนิก้า ดรัมแอนเบส ดั๊บ เฮฟวี่เมทัล ฯลฯ แต่ทั้งหมดนี้ไม่ใช่อินดี้…เพราะเพลงอินดี้คือชื่อระบบการทำงาน

         เมื่อดูจากความเป็นมา ดนตรีอินดี้ ได้มีส่วนเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมดนตรีไปตลอดกาล และพร้อมที่จะขับเคลื่อนไปข้างหน้าในทุกยุคสมัย

         เพลงอินดี้ คือ นักร้องหรือวงดนตรีที่ทำงานในการสร้างสรรค์ดนตรีและบทเพลงออกมาจากมัน สมองอย่างหนักเหนื่อย แต่ค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ไม่เคยสนใจ วิทยุก็ไม่เคยเปิดเพลงให้ เพราะเป็นศิลปินหน้าใหม่ไม่มีชื่อเสียง และถ้าอยู่ภายใต้สังกัดค่ายเพลงอินดี้เป็นอิสระด้วยตัวเอง ยิ่งไม่มีทางเลย

         เพราะมีเพียงบริษัทเพลงยักษ์ใหญ่เพียงไม่กี่แห่งที่มีอำนาจควบคุมตลาด เพลงอยู่ สาเหตุหนึ่งเพราะพวกเขาได้ก่อร่างสร้างอุตสาหกรรมเพลงและธุรกิจในสายนี้ขึ้น มาตั้งแต่ยุคบุกเบิก จนทำให้เป็นองค์กรทางธุรกิจที่ประสบความสำเร็จสูงสุด

หาก ดูความหมายดั้งเดิม “เพลงอินดี้” หมายถึง งานเพลงของวงดนตรีที่ออกกับค่ายเพลงอิสระ แต่ปัจจุบันได้แปรผันเป็นแนวดนตรีที่ออกกับค่ายยักษ์ใหญ่ก็ได้ โดยตลาดจะเป็นกลุ่มนักเรียนนักศึกษาหรือผู้ใหญ่ที่ต้องการฟังสิ่งที่ดีและ ใหม่กว่าที่มีอยู่ในท้องตลาด ไม่ใช่กระแสหลัก และไม่เดินตามก้นคนอื่น ไม่ใส่ใจในบางสิ่งบางอย่างที่อยู่ในเวลาเดียวกัน อยู่เหนือทุกๆ สิ่ง

         ที่จริงแล้ว ขอบข่ายของ “Independent” ที่ใช้กันบ่อยแบบหยาบๆ กว้างๆ มีหลายแบบด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นค่ายเพลงแยกย่อยของบริษัทเพลงยักษ์ใหญ่ ซึ่งก็ไม่ใช่เป็นอิสระไปทั้งหมด หรือเป็นค่ายเพลงเล็กๆ ในบริษัทเพลงยักษ์ใหญ่เช่นกัน แต่เจาะจงทำขึ้นมาเพื่อรองรับศิลปินระดับซูเปอร์สตาร์เป็นกรณีพิเศษเท่านั้น หรือค่ายเพลงอิสระที่อาศัยเครือข่ายการบริหารจัดการและจัดจำหน่ายของค่าย เพลงยักษ์ใหญ่ หรือค่ายเพลงที่เรียกดนตรีของตัวเองว่า อินดี้ มิวสิค ซึ่งอาจจะมีระบบที่เป็นแบบค่ายเพลงยักษ์ใหญ่หรือแบบค่ายเพลงอิสระก็ได้ หรือค่ายเพลงอิสระที่แตกต่างกับค่ายเพลงยักษ์ใหญ่หรือกระแสหลักแบบจริงๆ

         เพราะโดยหลักของความเป็นอิสระหรืออินดี้แล้ว ไม่ได้ตั้งแง่รังเกียจอุตสาหกรรมดนตรี เพียงแต่ต้องการเป็นนายของตัวเอง และหลีกเลี่ยงระเบียบแบบแผนที่ของบริษัทเพลงซึ่งใช้กันอยู่ประจำ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องต้นทุนหรือการเข้ามาบังคับกะเกณฑ์ในตัวงาน การใช้บริการของหน่วยธุรกิจใหญ่ๆ บางครั้งก็จะช่วยให้ทำในสิ่งที่ต้องการให้มีความเป็นไปได้ และยืนอยู่ในฐานะอิสระ เพราะ ‘อินดี้’ ไม่ใช่คำที่เคร่งครัดตายตัว

         ศิลปินอินดี้ต้องมีคุณสมบัติขั้นพื้นฐาน DIY (Do-It-Yourself) คือศิลปินทำดนตรีและงานเพลงด้วยตัวของพวกเขาเอง และนั่นคือ อินดี้..."

http://www.eduzones.com/knowledge-2-12-49654.html

ความรู้เรื่องยาเสพติด

ความรู้เรื่องยาเสพติด

๑. ความหมายของยาเสพติด
          ยาเสพติด  หมายถึง สารใดก็ตามที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือสารที่สังเคราะห์ขึ้น เมี่อนำเข้าสู้ร่างกายไม่ว่าจะโดยวิธีรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยวิธีการใด ๆ แล้ว ทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจ นอกจากนี้ยังจะทำให้เกิดการเสพติดได้ หากใช้สารนั้นเป็นประจำทุกวัน หรือวันละหลาย ๆ ครั้ง
          ลักษณะสำคัญของสารเสพติด จะทำให้เกิดอาการ และอาการแสดงต่อผู้เสพดังนี้
              ๑.  เกิดอาการดื้อยา หรือต้านยา และเมื่อติดแล้ว ต้องการใช้สารนั้นในประมาณมากขึ้น
              ๒.  เกิดอาการขาดยา ถอนยา หรืออยากยา เมื่อใช้สารนั้นเท่าเดิม ลดลง หรือหยุดใช้
              ๓.  มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจ อย่างรุนแรงตลอดเวลา
              ๔.  สุขภาพร่างกายทรุดโทรมลง เกิดโทษต่อตนเอง  ครอบครัว  ผู้อื่น  ตลอดจนสังคม และประเทศชาติ
๒. ประเภทของยาเสพติด
          ยาเสพติด แบ่งได้หลายรูปแบบ ตามลักษณะต่าง ๆ ดังนี้

           ๑.  แบ่งตามแหล่งที่เกิด  ซึ่งจะแบ่งออกเป็น  ๒  ประเภท คือ
                  ๑.๑  ยาเสพติดธรรมชาติ  (Natural  Drugs) คือยาเสพติดที่ผลิตมาจากพืช เช่น  ฝิ่น กระท่อม  กัญชา  เป็นต้น
                  ๑.๒  ยาเสพติดสังเคราะห์  (Synthetic  Drugs)  คือยาเสพติดที่ผลิตขึ้นด้วยกรรมวิธีทางเคมี  เช่น เฮโรอีน  แอมเฟตามีน  เป็นต้น
              ๒.  แบ่งตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒  ซึ่งจะแบ่งออกเป็น ๕ ประเภท คือ
                  ๒.๑  ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๑  ได้แก่ เฮโรอีน  แอลเอสดี  แอมเฟตามีน หรือยาบ้า  ยาอีหรือยาเลิฟ
                  ๒.๒  ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๒  ยาเสพติดประเภทนี้สามารถนำมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ได้  แต่ต้องใช้ภายใต้การควบคุมของแพทย์    และใช้เฉพาะกรณีที่จำเป็นเท่านั้น ได้แก่  ฝิ่น  มอร์ฟีน  โคเคน หรือโคคาอีน  โคเคอีน  และเมทาโดน
                  ๒.๓  ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่  ๓   ยาเสพติดประเภทนี้เป็นยาเสพติดให้โทษที่มียาเสพติดประเภทที่  ๒   ผสมอยู่ด้วย มีประโยชน์ทางการแพทย์   การนำไปใช้เพื่อจุดประสงค์อื่น หรือเพื่อเสพติด จะมีบทลงโทษกำกับไว้  ยาเสพติดประเภทนี้ ได้แก่
ยาแก้ไอ  ที่มีตัวยาโคเคอีน  ยาแก้ท้องเสีย ที่มีฝิ่นผสมอยู่ด้วย  ยาฉีดระงับปวดต่าง ๆ เช่น มอร์ฟีน  เพทิดีน  ซึ่งสกัดมาจากฝิ่น
                  ๒.๔  ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่  ๔  คือสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๑ หรือประเภทที่ ๒   ยาเสพติดประเภทนี้ไม่มีการนำมาใช้ประโยชน์ในการบำบัดโรคแต่อย่างใด  และมีบทลงโทษกำกับไว้ด้วย  ได้แก่น้ำยาอะเซติคแอนไฮไดรย์ และ อะเซติลคลอไรด์  ซึ่งใช้ในการเปลี่ยนมอร์ฟีนเป็นเฮโรอีน  สารคลอซูไดอีเฟครีน  สามารถใช้ในการผลิตยาบ้าได้ และวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทอีก ๑๒ ชนิด  ที่สามารถนำมาผลิตยาอีและยาบ้าได้ในยาเสพติดประเภทที่ ๑ ถึง ๔  ได้แก่  ทุกส่วนของพืชกัญชา  ทุกส่วนของพืชกระท่อม   เห็ดขี้ควาย เป็นต้น
              ๓.  แบ่งตามการออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท  ซึ่งแบ่งออกเป็น ๔ ประเภท คือ
                  ๓.๑  ยาเสพติดประเภทกดประสาท  ได้แก่   ฝิ่น   มอร์ฟีน   เฮโรอีน   สารระเหย  และยากล่อมประสาท
                  ๓.๒  ยาเสพติดประเภทกระตุ้นประสาท  ได้แก่  แอมเฟตามีน  กระท่อม และ โคคาอีน
                  ๓.๓  ยาเสพติดประเภทหลอนประสาท  ได้แก่  แอลเอสดี  ดีเอ็มพี  และ เห็ดขี้ควาย
                  ๓.๔  ยาเสพติดประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน    กล่าวคือ  อาจกดกระตุ้น หรือ หลอนประสาทได้พร้อม ๆ กัน  ตัวอย่างเช่น  กัญชา
              ๔.  แบ่งตามองค์การอนามัยโลก  ซึ่งแบ่งออกได้เป็น  ๙  ประเภท คือ
                  ๔.๑  ประเภทฝิ่น  หรือ  มอร์ฟีน   รวมทั้งยาที่มีฤทธิ์คล้ายมอร์ฟีน  ได้แก่ ฝิ่น  มอร์ฟีน  เฮโรอีน   เพทิดีน
                  ๔.๒  ประเภทยาปิทูเรท  รวมทั้งยาที่มีฤทธิ์ทำนองเดียวกัน ได้แก่  เซโคบาร์ปิตาล  อะโมบาร์ปิตาล  พาราลดีไฮด์  เมโปรบาเมท ไดอาซีแพม เป็นต้น
                  ๔.๓  ประเภทแอลกอฮอล  ได้แก่  เหล้า   เบียร์  วิสกี้
                  ๔.๔  ประเภทแอมเฟตามีน  ได้แก่  แอมเฟตามีน  เมทแอมเฟตามีน
                  ๔.๕  ประเภทโคเคน  ได้แก่  โคเคน  ใบโคคา
                  ๔.๖  ประเภทกัญชา  ได้แก่  ใบกัญชา  ยางกัญชา
                  ๔.๗  ประเภทใบกระท่อม
                  ๔.๘  ประเภทหลอนประสาท  ได้แก่ แอลเอสดี  ดีเอ็นที  เมสตาลีน  เมลัดมอนิ่งกลอรี่   ต้นลำโพง  เห็ดเมาบางชนิด
                  ๔.๙  ประเภทอื่น ๆ  นอกเหนือจาก  ๘  ประเภทข้างต้น  ได้แก่  สารระเหยต่าง ๆ  เช่น ทินเนอร์  เบนซิน  น้ำยาล้างเล็บ  ยาแก้ปวด  และบุหรี่
๓. วิธีการเสพยาเสพติด
          กระทำได้หลายวิธี ดังนี้คือ
                  ๓.๑  สอดใต้หนังตา
                  ๓.๒  สูบ
                  ๓.๓  ดม
                  ๓.๔  รับประทานเข้าไป
                  ๓.๕  อมไว้ใต้ลิ้น
                  ๓.๖  ฉีดเข้าเหงือก
                  ๓.๗  ฉีดเข้าเส้นเลือด
                  ๓.๘  ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
                  ๓.๙  เหน็บทางทวารหนัก
๔. ยาเสพติดที่แพร่ระบาดในประเทศไทย  ได้แก่
                  ๔.๑  ยาบ้า
                  ๔.๒  ยาอี  ยาเลิฟ  หรือ เอ็กซ์ตาซี
                  ๔.๓  ยาเค
                  ๔.๔  โคเคน
                  ๔.๕  เฮโรอีน
                  ๔.๖  กัญชา
                  ๔.๗  สารระเหย
                  ๔.๘  แอลเอสดี
                  ๔.๙  ฝิ่น
                  ๔.๑๐  มอร์ฟีน
                  ๔.๑๑  กระท่อม
                  ๔.๑๒  เห็ดขี้ควาย
๕. สาเหตุของการติดยาเสพติด
          มีหลายประการ ดังนี้คือ
                  ๕.๑  อยากลอง อยากรู้ อยากเห็น อยากสัมผัส ซึ่งเป็นสัญชาตญาณอย่างหนึ่งของมนุษย์  โดยคิดว่า "ไม่ติด"  แต่เมื่อลองเสพเข้าไปแล้วมักจะติด
                  ๕.๒  ถูกเพื่อนชักชวน  ส่วนใหญ่พบในกลุ่มเยาวชน ทำตามเพื่อน  เพราะต้องการ การยอมรับจากเพื่อนฝูง หรือถูกชักจูงว่าใช้แล้วทำให้สมองปลอดโปร่ง  หรือใช้แล้วทำให้ขยันจึงเหมาะแก่การเรียน และการทำงาน
                  ๕.๓  ถูกหลอกลวง  โดยอาศัยรูปแบบสีสันสวยงาม  ทำให้ผู้รับไม่อาจทราบได้ว่า สิ่งที่ตนได้รับเป็นยาเสพติด
                  ๕.๔  ใช้เพื่อลดความเจ็บปวดทางกาย  อันเนื่องมาจากโรคภัยไข้เจ็บ  จนเกิดการติดยา เพราะใช้เป็นประจำ
                  ๕.๕  เกิดจากความคนอง และขาดสติยั้งคิด ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าเป็นยาเสพติด แต่อยากแสดง ความเก่งกล้า อวดเพื่อน จึงชวนกันเสพจนติด
                  ๕.๖  ภาวะสิ่งแวดล้อมรอบตัว เอื้ออำนวยที่จะส่งเสริม  และผลักดันให้หันเข้าหายาเสพติด เช่น  ครอบครัวแตกแยก สมาชิกในครอบครัวขาดความเข้าใจซึ่งกันและกัน ภาวะเศรษฐกิจบีบบังคับให้ทำเพื่อความอยู่รอด  อยากรวยเร็ว หรือพักอาศัยอยู่ ในแหล่งที่มีการเสพและค้ายาเสพติด
๖. โทษ/พิษภัย ของยาเสพติด
          การใช้ยาเสพติด  มีโทษและพิษภัยรอบตัว นอกจากจะส่งผลกระทบในทางไม่ดีโดยตรงต่อตัวผู้เสพแล้ว ทั้งทางร่างกายและจิตใจ  ยังส่งผลกระทบทางอ้อมไปยังครอบครัวผู้เสพ ตลอดจนเศรษฐกิจ  สังคม และประเทศชาติอีกด้วย
บทลงโทษเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ
        - ผู้จำหน่ายหรือมีเฮโรอีนไว้ในครอบครอง น้ำหนักไม่เกิน 100 กรัม จำคุกตั้งแต่ 5 ปี ถึงตลอดชีวิต
และปรับตั้งแต่ 50,000-500,000 บาท เกิน 100 กรัม ประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต
        - มีเฮโรอีนไว้ในครอบครอง โทษจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี และปรับตั้งแต่ 10,000-100,000 บาท
        - ผู้เสพเฮโรอีนมีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน - 10 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000-100,000 บาท
        - มีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย โทษจำคุกตั้งแต่ 2-15 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000-150,000 บาท
        - ผู้ใดเสพกัญชา จำคุกไม่เกิน 1 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท
        - มีกัญชาไว้ในครอบครอง โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 50,000 บาท
        - ผลิต (ปลูก) กัญชา จำคุกอย่างต่ำ 2 ปี และปรับอย่างต่ำ 20,000-150,000บาท
สารระเหย สารเสพติด ผิดกฎหมาย
๗. วิธีสังเกตุอาการผู้ติดยาเสพติด
            จะสังเกตว่าผู้ใดใช้หรือเสพยาเสพติด  ให้สังเกตจากอาการและการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกาย และจิตใจดังต่อไปนี้
                  ๗.๑  การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย  จะสังเกตได้จาก
                      ๗.๑.๑   สุขภาพร่างกายทรุดโทรม  ซูบผอม  ไม่มีแรง  อ่อนเพลีย
                      ๗.๑.๒  ริมฝีปากเขียวคล้ำ  แห้ง  และแตก
                      ๗.๑.๓  ร่างกายสกปรก  เหงื่อออกมาก  กลิ่นตัวแรงเพราะไม่ชอบอาบน้ำ
                      ๗.๑.๔  ผิวหนังหยาบกร้าน  เป็นแผลพุพอง  อาจมีหนองหรือน้ำเหลือง คล้ายโรคผิวหนัง
                      ๗.๑.๕  มีรอยกรีดด้วยของมีคม  เป็นรอยแผลเป็นปรากฏที่บริเวณแขน  และ/หรือ ท้องแขน
                      ๗.๑.๖  ชอบใส่เสื้อแขนยาว  กางเกงขายาว  และสวมแว่นตาดำเพื่อปิดบังม่านตาที่ ขยาย
                  ๗.๒  การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ  ความประพฤติและบุคลิกภาพ  สังเกตุได้จาก
                      ๗.๒.๑  เป็นคนเจ้าอารมย์  หงุดหงิดง่าย  เอาแต่ใจตนเอง  ขาดเหตุผล
                      ๗.๒.๒  ขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่
                      ๗.๒.๓  ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง
                      ๗.๒.๔  พูดจากร้าวร้าว  แม้แต่บิดามารดา  ครู อาจารย์  ของตนเอง
                      ๗.๒.๕  ชอบแยกตัวอยู่คนเดียว ไม่เข้าหน้าผู้อื่น  ทำตัวลึกลับ
                      ๗.๒.๖  ชอบเข้าห้องน้ำนาน ๆ
                      ๗.๒.๔  ใช้เงินเปลืองผิดปกติ  ทรัพย์สินในบ้านสูญหายบ่อย
                      ๗.๒.๕  พบอุปกรณ์เกี่ยวกับยาเสพติด  เช่น  หลอดฉีดยา  เข็มฉีดยา  กระดาษตะกั่ว
                      ๗.๒.๖  มั่วสุมกับคนที่มีพฤติกรรมเกี่ยวกับยาเสพติด
                      ๗.๒.๗  ไม่สนใจความเป็นอยู่ของตนเอง  แต่งกายสกปรก ไม่เรียบร้อย ไม่ค่อยอาบน้ำ
                      ๗.๒.๘  ชอบออกนอกบ้านเสมอ ๆ  และกลับบ้านผิดเวลา
                      ๗.๒.๙  ไม่ชอบทำงาน  เกียจคร้าน  ชอบนอนตื่นสาย
                      ๗.๒.๑๐  มีอาการวิตกกังวล   เศร้าซึม   สีหน้าหมองคล้ำ
                  ๗.๓  การสังเกตุอาการขาดยา  ดังต่อไปนี้
                      ๗.๓.๑  น้ำมูก  น้ำตาไหล หาวบ่อย
                      ๗.๓.๒  กระสับกระส่าย  กระวนกระวาย  หายใจถี่  ปวดท้อง  คลื่นไส้  อาเจียน  เบื่ออาหาร  น้ำหนักลด  อาจมีอุจาระเป็นเลือด
                      ๗.๓.๓  ขนลุก  เหงื่อออกมากผิดปกติ
                      ๗.๓.๔  ปวดเมื่อยตามร่างกาย  ปวดเสียวในกระดูก
                      ๗.๓.๕  ม่านตาขยายโตขึ้น  ตาพร่าไม่สู้แดด
                      ๗.๓.๖  มีอาการสั่น  ชัก  เกร็ง  ไข้ขึ้นสูง  ความดันโลหิตสูง
                     ๗.๓.๗  เป็นตะคริว
                      ๗.๓.๘  นอนไม่หลับ
                      ๗.๓.๙  เพ้อ  คลุ้มคลั่ง  อาละวาด  ควบคุมตนเองไม่ได้
๘. การตรวจพิสูจน์หาสารเสพติดในร่างกาย
          การตรวจหาสารเสพติดในร่างกาย  แบ่งออกเป็น ๒ ขั้นตอน
                   ๘.๑  การตรวจขั้นต้น : ราคาถูก ได้ผลเร็ว มีชุดตรวจสำเร็จรูป  ความแม่นยำในการตรวจปานกลาง  สดวกในการนำไปตรวจนอกสถานที่
                   ๘.๒  การตรวจขั้นยืนยัน : เป็นการตรวจที่ให้ผลแม่นยำ แต่ใช้เวลาตรวจนาน ค่าใช้จ่ายสูง
การป้องกันการติดยาเสพติด
        1. ป้องกันตนเอง ไม่ใช้ยาโดยมิได้รับคำแนะนำจากแพทย์ และจงอย่าทดลองเสพยาเสพติดทุกชนิดโดยเด็ดขาด เพราะติดง่ายหายยาก
        2. ป้องกันครอบครัว ควรสอดส่องดูแลเด็กและบุคคลในครอบครัวหรือที่อยู่รวมกัน อย่าให้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ต้องคอยอบรมสั่งสอนให้รู้ถึงโทษและภัยของยา-เสพติด หากมีผู้เสพยาเสพติดในครอบครัวจงจัดการให้เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลให้หาย เด็ดขาด การรักษาแต่แรกเริ่มติดยาเสพติดมีโอกาสหายได้เร็วกว่าที่ปล่อยไว้นานๆ
        3. ป้องกันเพื่อนบ้าน โดยช่วยชี้แจงให้เพื่อนบ้านเข้าใจถึงโทษและภัยของยาเสพติด โดยมิให้เพื่อนบ้านรู้เท่าไม่ถึงการณ์ต้องถูกหลอกลวง และหากพบว่าเพื่อนบ้านติดยาเสพติด จงช่วยแนะนำให้ไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล
        4. ป้องกันโดยให้ความร่วมมือกับทางราชการ เมื่อทราบว่าบ้านใดตำบลใด มียาเสพติดแพร่ระบาดขอให้แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจทุกแห่งทุกท้องที่ทราบ หรือที่ศูนย์ปราบปรามยาเสพติดให้โทษ กรมตำรวจ (ศปส.ตร.) โทร. 252-7962 , 252-5932 และที่สำนักงานคณดะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.) สำนักนายกรัฐมนตรี โทร. 245-9350-9
สถานบำบัด
        1. โรงพยาบาลตำรวจ แผนกจิตเวช กรุงเทพฯ โทร.2528111-7
        2. โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า แผนกจิตเวช กรุงเทพฯ โทร.2461946
        3. โรงพยาบาลธัญญารักษ์ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี โทร.5310080-8
        4. โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า กรุงเทพฯ โทร.4681116-20
        5. โรงพยาบาลทหารเรือกรุงเทพฯ โทร. 4112191
        6. ศูนย์บริการสาธารณสุข กรุงเทพฯ ลุมพินี ซอยปลุกจิตต์ ถ.วิทยุ โทร.2512970
        7. ศูนย์บริการสาธารณสุข กรุงเทพฯ สี่พระยา โทร.2364055
        8. สำนักสงฆ์ถ้ำกระบอก จ.สระบุรี
        9. สำนักสงฆ์ถ้ำเขาทะลุ จ.ราชบุรี


>>> แนะนำเลยว่าอย่าไปยุ่งกับสิ่งเหล่านี้เลย <<<

เกร็ดความรู้ ยิ่งพูดน้อย… ยิ่งได้ข้อมูลมาก

 
1. ยิ่งพูดน้อย ยิ่งปล่อยไก่ยาก ต้อง ยอมรับล่ะว่า สมัยนี้ผู้หญิงนั้นมีความรอบรู้ในหลายๆด้าน และเรื่องบางเรื่องพวกหล่อนก็รู้ดีมากกว่าชายซะอีก แล้วถ้าคุณเผลอปล่อยไก่หรือแสดงความโง่เขลาออกมาล่ะก็ คะแนนคุณดิ่งฮวบทันที

  2. ยิ่งพูดน้อย ยิ่งน่าเชื่อถือ คุณ ลองสังเกตดูในที่ทำงานคุณก็ได้ ว่าเพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้าคุณฟังความเห็นของใครมากกว่า ระหว่างคนที่ขี้เล่นเม๊าไปเรื่อย กับคนที่เงียบขรึม…โดยทั่วไปแล้ว คนเรามักจะเชื่อถือคนที่พูดเฉพาะเวลาจำเป็นมากกว่า

  3. ยิ่งพูดน้อย ยิ่งดูลึกลับ ลึกลับแล้วยังไงน่ะเหรอ? ก็ทำให้คุณยิ่งดูเป็นบุรุษผู้น่าค้นหายังไงล่ะ ยิ่งทำให้เธออยากเข้าหาและทำความรู้จักตัวตนที่แท้จริงของคุณให้มากขึ้น

  4. ยิ่งพูดน้อย ยิ่งมีพลัง ผู้หญิงทั่วไปจะรู้สึกว่า ผู้ชายที่พูดมากเกินความจำเป็นเวลาที่จีบพวกหล่อนนั้น เป็นพวกที่ไม่มีความมั่นใจ และเกิดความประหม่าซะจนต้องพูดๆๆๆจนน้ำลายแตกฟอง ดังนั้นความเคร่งขรึมสุขุมของคุณ เป็นเครื่องบ่งบอกแทนคำพูดว่า ‘ผมไม่ประหม่าความสวยของคุณเลยแม้แต่น้อย!’ซึ่งมันแมนกว่ากันเยอะๆๆ

  5. ยิ่งพูดน้อย ยิ่งได้ข้อมูลมาก ผู้หญิง ส่วนใหญ่ทนความตึงเครียดอันเกิดจากบรรยากาศเงียบๆไม่ได้นานหรอก ดังนั้นยิ่งคุณพูดน้อยเวลาอยู่กับเธอ เธอยิ่งเผยไต๋เกี่ยวกับตัวเองให้คุณฟัง และเก็บไว้เป็นข้อมูลได้มากเท่านั้น ทำให้คุณสามารถวิเคราะห์เธอได้ง่ายขึ้น

  6. ยิ่งพูดน้อย ยิ่งต้องแก้ตัวน้อย ไม่มีใครพูดความจริงได้ตลอดเวลาหรอก ดังนั้นยิ่งคุณพูดน้อยเท่าไร คุณก็ไม่ต้องมานั่งกังวลว่าจะต้องโกหก หรือเคยโกหกอะไรไปแล้วบ้าง เดี๋ยวเกิดจำไม่ได้ขึ้นล่ะก็ยุ่งตายเลย

ใครที่ชอบพูดมาก พูดอยู่คนเดียวจนลืมฟังคนที่คุณพูดด้วย ระวังนะคะ วันหลัง จะไม่มีใครอยากพูดกับคุณ อิอิ

ขอบคุณสะกิดค่ะ

ละลายความเครียด ลดเมื่อยนอนไม่หลับ


บางครั้งที่เราไม่ได้รู้สึกว่าตัวเองมีเรื่องเครียดๆ หรือไม่มีอะไรให้ต้องคิดหนักสักนิด แต่กลับเกิดอาการปวดเมื่อยเนื้อตัว แถมยังนอนไม่หลับอีก เมื่อไปพบคุณหมอ ก็กลับได้รับคำวินิจฉัยว่า เป็นโรคเครียด

น.พ.วีรวุฒิ เอกกมลกุล แพทย์ด้าน ธรรมชาติบำบัด แห่ง เอส เมดิคอล สปา อธิบายว่า ความเครียดเป็นสภาวะที่เกิดขึ้นกับคนทุกคน ไม่เลือกอายุ เพศ เชื้อชาติ และชนชั้น หลายคนอาจจะเข้าใจเพียงว่า ความเครียดจะเกิดจากความวิตกกังวล ปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของทุกคน

แต่แท้จริงแล้ว ความเครียดเกิดได้ตลอดเวลาแม้ว่าจะไม่มีความวิตกกังวลใดๆ เพราะความเครียด เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในชีวิตของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นที่พอใจหรือไม่ก็ตาม เพราะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจะนำไปสู่การปรับตัวใหม่

ความเครียดมีทั้งแบบที่ดีและไม่ดี ความเครียดที่ ดี (Eustress) เป็นความเครียดที่มนุษย์แสวงหา เช่น การขยายธุรกิจ การเปลี่ยนนิสัยการกินเพื่อลดน้ำหนัก การสอบ เป็นต้น ส่วนความเครียดที่ไม่ดี เป็นความเครียดที่เราหลีกเลี่ยง เช่น การตกงาน ป่วยรุนแรงหรือเรื้อรัง การถูกจำคุก

หมอวีรวุฒิ กล่าวว่า ตามหลักทางการแพทย์จะมีการกำหนดคะแนนของความเครียดไว้ตามแต่ละสถานการณ์ เช่น การตายของคู่สมรส มีคะแนนความเครียดถึง 123 คะแนน การหย่าร้าง 100 คะแนน การตายของคนในครอบครัว 94 คะแนน อันนี้เป็นคะแนนจากสถานการณ์ชีวิตที่ไม่ต้องการ

แต่ถ้าเป็นสถานการณ์ที่มนุษย์แสวงหา เช่น การปรับธุรกิจใหม่ มี 64 คะแนน ความโด่งดัง มีชื่อเสียง 39 คะแนน และยังมีอีกหลายสถานการณ์ ซึ่งหากในรอบปีหนึ่งๆ เกิดความเปลี่ยนแปลงในชีวิตมาก คะแนนความเครียดของคนนั้นก็จะสูงขึ้นไปด้วย

นอกจากนี้ การทำภารกิจต่างๆ ในชีวิตประจำวันที่ผิดท่าก็ทำให้เกิดความเครียดได้เช่นกัน เช่น การนอนคว่ำ ลำตัวแอ่น จะทำให้เกิดความเครียด การยกของโดยการก้มตัวหลังโค้ง ก็ทำให้เกิดความเครียด

ความเครียดสะสมเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการเจ็บป่วยทั้งทาง กายและทางจิตได้ หากไม่ได้รับการผ่อนคลาย ดังนั้น สิ่งที่ดีที่สุด คือ จะต้องพยายามหาทางผ่อนคลายความเครียด แม้จะไม่รู้สึกว่ามีเรื่องวิตกกังวลอะไรก็ตามŽ
หมอวีรวุฒิยังให้คำแนะนำ วิธีการผ่อนคลายความเครียดง่ายๆ ว่า สิ่งที่ดีที่สุดก็คือการหาเวลาในการออกกำลังกาย เดิน วิ่ง หรือทำกิจกรรมที่ทำให้ร่างกาย กล้ามเนื้อได้ทำงาน ก็จะสามารถละลายความเครียดที่เกิดขึ้นในแต่ละวันได้ และที่สำคัญ การปฏิบัติภารกิจต่างๆ ก็ควร จะใช้วิธีที่ถูกต้อง เช่น การยืน ควรยืนตัวตรง ไม่ยืนหลังงอ เพื่อให้ระบบต่างๆ ของร่างกายทำงานได้สะดวก การนอนก็ควรหาท่านอนที่สบายและถูกต้อง เป็นต้น

แค่นี้ก็จะได้ไม่มีความเครียดสะสม

ปะการังในท้องทะเลไทย

ปะการัง ( Coral )


ปะการัง เป็นสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งจัดอยู่ในประเภทสัตว์ทะเลที่ไม่มีกระดูกสันหลัง ( ที่มีกระดูกสันหลังคือปลาต่างๆ ) ปะการังมีมากมายหลายชนิดมีทั้งปะการังแข็ง ปะการังอ่อน หลากสีสันและหลากหลายรูปร่างเช่นปะการังเขากวาง ปะการังดอกเห็ด และอีกมากมาย  ประเทศไทยเรามีปะการังมากมายเพราะประเทศเราอยู่เขตร้อน  ปะการังอยู่ได้เฉพาะเขตร้อนและใกล้เขตร้อนที่อุณหภูมิของน้ำไม่ต่ำกว่า 18 องศาเซลเซียส  ดังนั้นประเทศในเขตหนาวจึงไม่มีปะการัง นักท่องเที่ยวต่างประเทศจึงมาเที่ยวเมืองไทยเพื่อมาดำน้ำดูปะการังสวยๆ ดูสิ่งมีชีวิตมากมายในแนวปะการัง ทะเลฝั่งอันดามันของเรามีปะการังที่สวยงามอย่างเช่นเกาะสิมิลันที่มีความสวยงามใต้น้ำติดอันดับโลก ความสวยงามใต้น้ำที่ว่านั้นก็คือปะการังนั่นเอง ปะการังเป็นทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลที่สำคัญ เป็นที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์น้ำ เป็นแหล่งอาหารเพื่อการเจริญเติบโต เป็นแหล่งเพราะพันธุ์และวางไข่ เป็นแหล่งหลบภัยของสัตว์น้ำต่างๆ ดังนั้นปะการังจึงเป็นเหมือนผู้ผลิตและเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตในทะเล  แต่สำหรับนักท่องเที่ยวแล้วปะการังเป็นสิ่งวิเศษสุดสำหรับความสวยงามของโลกใต้ทะเล  ที่ใดมีปะการังอุดมสมบูรณ์ที่นั่นย่อมมีสิ่งมีชีวิตหลากหลาย มีปลาสวยๆ ที่มาอาศัยหลบภัยและหากินตามแนวปะการัง มีกุ้งสวยๆ ให้เราได้ชม
ปะการัง ( Coral ) เมื่ออยู่รวมกันในบริเวณหนึ่งเราเรียกว่าแนวปะการัง ( Reef ) ก็เหมือนกับต้นไม้แหล่ะครับ เมื่ออยู่ต้นเดียวเราเรียกต้นไม้ เมื่อมีอยู่รวมกันมากๆ เราเรียกว่าป่า  ดังนั้นแนวปะการังก็เปรียบเสมือนเป็นป่าแห่งท้องทะเล  แนวปะการังในท้องทะเลไทยมีหลายแบบคือ

1. แนวปะการังริมฝั่ง ( fringing reef )
เกิดจากสะสมหินปูนอันเกิดจากโครงสร้างของปะการังแข็งที่ทับถมกันเรื่อยมาจนก่อเกิดเป็นแนวหินปะการัง แนวปะการังริมฝั่งแบ่งเป็น 3 เขตตามลักษณะของชายฝั่งดังภาพข้างล่าง คือ บริเวณแนวราบชายฝั่งบริเวณน้ำตื้น - บริเวณแนวสันที่เป็นจุดเปลี่ยนระหว่างน้ำตื่นและน้ำลึก - บริเวณแนวลาดชันเป็นส่วนที่ลาดลงสู่ระดับน้ำลึก  ไปจนสุดเขตนอกแนวปะการัง บริเวณที่น้ำลึกมากๆ จะไม่มีปะการังทั้งนี้เนื่องจากปริมาณแสงแดดที่ส่งไปถึงพื้นมีน้อย
  

1. ปะการังบริเวณแนวราบ  เป็นส่วนที่อยู่ติดกับชายฝั่ง บริเวณใกล้ชายฝั่งมักไม่มีปะการังอยู่เลย ( หาดทราย ) เพราะเวลาน้ำลงบริเวณนี้จะโผล่พ้นน้ำเป็นเวลานานทำให้มีการเปลี่ยนอุณหภูมิมาก และยังมีอิทธิพลมาจากน้ำจืดที่ไหลออกจากชายฝั่งเวลาที่มีฝนตกลงมา ปะการังริมฝั่งจะพบมากบริเวณนอกของแนวราบใกล้แนวสันที่ห่างชายฝั่ง
2. ปะการังบริเวณแนวสัน เป็นเขตรอยต่อระหว่างแนวราบส่วนบนและแนวลาดชัน บริเวณนี้เป็นบริเวณที่มีปะการังชนิดต่างๆ อยู่เป็นจำนวนมาก ลักษณะเด่นของที่ขึ้นอยู่บริเวณนี้คือ โขด จาน และกิ่ง
3. บริเวณแนวลาดชัน อยู่ในบริเวณน้ำลึก  เป็นส่วนที่ลาดลงสู่พื้นทะเลบริเวณนี้มีปะการังอยู่ไม่มากนัก ลักษณะของปะการังบริเวณแนวลาดชันคือปะการังกิ่ง ปะการังแผ่น ปะการังอ่อน และกัลปังหา
แนวนอกปะการัง เป็นบริเวณที่เป็นพื้นทรายมีปะการังอยู่บ้างประปรายและไม่มีปะการังเลยในระดับที่ลึก
2. กลุ่มปะการังบนพื้นทราย ( patch reef )
เป็นลักษณะของปะการังขึ้นเป็นกลุ่มอยู่บนพื้นทราย โดยที่แต่ละกลุ่มอาจเป็นปะการังชนิดโขดใหญ่และมีปะการังชนิดอื่นๆ บนโขดนั้น เป็นลักษณะของรูปแบบการเกิดของแนวปะการังในพื้นที่ซึ่งค่อนข้างจะเปิดรับแรงปะทะของคลื่นมากกว่าปะการังริมฝั่ง หรือพบบริเวณร่องน้ำระหว่างเกาะซึ่งมีกระแสน้ำไหลเชี่ยว ถึงแม้จะมีการสร้างหินปูนแต่ไม่มีการก่อเป็นแนวหินปะการัง ในกลุ่มปะการังบนพื้นทรายนี้จะมีความหลากหลายของชนิดสัตว์รวมทั้งปะการัง แต่ในบางพื้นที่อาจจะพบเพียงปะการังโขด หรือปะการังเขากวางเพียงอย่างเดียว

ภาพกลุ่มปะการังบนพื้นทราย
3. กลุ่มปะการังบนโขดหิน  ( coral community on rocky coast )
เป็นปะการังที่เกาะยึดติดอยู่บนโขดหินใต้น้ำ ชนิดของปะการังเป็นชนิดที่เติบโตได้ในแนวปะทะของคลื่นที่รุนแรงได้ มักเป็นปะการังที่เป็นแผ่นเคลือบบนหิน เป็นพุ่มเป็นกิ่งๆ และหนา หรือเป็นหัวขนาดเล็กยึดติดกับโขดหิน บริเวณนี้มักจะไม่มีการทับถมของซากหินปูนจนเป็นแนวปะการัง

ภาพกลุ่มปะการังบนโขดหิน
4. แหล่งกัลปังหา และปะการังอ่อน ( sea fan and soft coral community )
เป็นบริเวณที่ปะการังอ่อน กัลปังหา และ ปะการังแข็งขึ้นอยู่ประปนกัน มักจะอยู่บริเวณที่น้ำลึกตั้งแต่ 10-50 เมตร อาจเป็นเป็นโขดหินใต้น้ำ หรือบริเวณหัวแหลมที่มีกระแสน้ำไหลแรง

แหล่งกัลปังหา และปะการังอ่อน
ปะการังมีมากมายหลายชนิดกว่า 700 ชนิดทั่วโลก สำหรับประเทศไทยมีปะการังประมาณ 350 ชนิด ชนิดของปะการังที่พบได้ง่ายและควรรู้จักมีดังนี้
1. ปะการังปลายเข็ม Needle coral ( Stylophora pistillata )
  2. ปะการังเกล็ดคว่ำ  Hood coral  ( Stylophora pistillata )
  3. ปะการังดอกกระหล่ำ Cauliflower ( Pocillopora spp. )
  4. ปะการังกิ่งไม้เล็ก  Fine branched coral ( Anacropora spp. )

  5. ปะการังเขากวาง  Staghorn coral, Table coral ( Acropora spp. ) พบประมาณ 40 ชนิด
  6. ปะการังผิวเกล็ดน้ำแข็ง  Fine spined coral ( Montipora spp. )
  7. ปะการังโขด หรือประการังนิ้วมือ  Mountain coral, Finger coral ( Porites spp. )
  8. ปะการังผิวยู่ยี่ Wrinkle coral ( Synaraea rus )
  9. ปะการังดอกไม้ทะเล Anemone-like coral  ( Goniopora spp. )
10. ปะการังลายกลีบดอกไม้ Petal-like coral  ( Psammocora spp. )
11. ปะการังลายดอกไม้  Flower coral ( Pavona spp. )
12. ปะการังช่องหินอ่อน  Gardiner's coral ( Gardineroseris planulata )
13. ปะการังรังผึ้ง Honey comb coral ( Coeloseris mayeri )
14. ปะการังลายลูกฟูก  Serpent coral  ( Pachyseris spp. )
15. ปะการังดอกเห็ด  Mushroom coral  ( Fungia spp. )
16. ปะการังบูมเมอแรง  Boomerang coral ( Herpolitha limax )
17. ปะการังกาแล็กซี่  Galaxy coral  ( Galaxea spp. )
18. ปะการังแผ่นเปลวไฟ หรือ ประการังดอกจอก  Lettuce coral ( Pectinia spp. )
19. ปะการังเคลือบหนาม  Spiny encrusting coral ( Echinophyllia spp. )
20. ปะการังผักกาดหอม  Lettuce coral  ( Mycedium elephantotus )
21. ปะการังถ้วยหนาม  Spiny cup coral  ( Cynarina lacymalis )
22. ปะการังสมองร่องตื้น  Shallow groove brain coral ( Australomussa rowleyensis )
23. ปะการังสมองใหญ่  Large brain coral ( Symphyllia spp. )
24. ปะการังถ้วยสมอง หรือ กรวยสมอง  Lobed cup coral  ( Lobophyllia spp. )
25. ปะการังใบร่องหนาม  Spiny cabbage coral  ( Merulina ampliata )
26. ปะการังหนามขนุน  Jack fruit spined coral  ( Hydnophora spp. )
27. ปะการังวงแหวน  Ring coral  ( Favia spp. )
28. ปะการังช่องเหลี่ยม  Larger star coral  ( Favites spp. )
29. ปะการังรังผึ้ง  Honey comb coral  ( Goniastrea spp. )
30. ปะการังสมอง  Brain coral  ( Platygyra spp. )
31. ปะการังสมองร่องเล็ก  Brain coral  ( Leptoria phrygia )
32. ปะการังสมอง Brain coral  ( Oulophyllia crispa )
33. ปะการังดาวใหญ่  Double star coral  ( Fiploastrea heliopora )
34. ปะการังดาวเล็ก  Little star coral  ( Cyphastrea spp. )
35. ปะการังช่องหนาม  Spiny coral  ( Echinopora spp. )
36. ปะการังหนวดปม  Joker coral  ( Euphyllia glabrescens )
37. ปะการังหนวดถั่ว หรือ หนวดสมอ  Bean coral  ( Euphyllia ancora )
38. ปะการังลูกโปร่งใหญ่  Rounded bubblegum coral  ( Plerogyra sinuosa )
39. ปะการังลูกโปร่งเล็ก  Tipped  bubblegum coral  ( Physogyra lichtensteini )
40. ปะการังจาน  หรือ ประการังแจกัน  Disc coral, Vase coral  ( Turbinaria spp. )
41. ปะการังถ้วยสีส้ม  Orange cup coral  ( Tubastraea coccinea )
42. ปะการังกิ่งน้ำตาลเขียว  Tree coral  ( Dendrophyllia micranthus )
43. ปะการังไฟ และ ไฮดรอยด์  Fire coral and Hydroid  ( Hydrozoa )
44. ปะการังดำ  Black coral
45. โซแอนทิด  Zoanthid
46. ดอกไม้ทะเลที่คล้ายประการัง  Corallimorph
47. ดอกไม้ทะเล  Sea anemone  พบไม่น้อยกว่า 10 ชนิด
48. ปะการังอ่อน  Soft coral พบประมาณ 18 ชนิด
49. กัลปังหา  Sea fan พบประมาณ 19 ชนิด
50. ปะการังสีน้ำเงิน   Blue coral
51. ปากกาทะเล  Sea pen

ดูรุปเพื่มเติมจ้า
http://www.nemotour.com/knowledge/coral.htm

เกร็ดความรู้ สิ่งที่ ผู้ชายชอบให้ผู้หญิงทำ.....คุณเคยทำไหม???

เกร็ดความรู้ สิ่งที่ ผู้ชายชอบให้ผู้หญิงทำ

  1. ชอบ ผู้หญิงที่ให้เกียรติตน โดยเฉพาะต่อหน้าผู้อื่น (รู้สึกได้หน้าที่ผู้หญิงอยู่ใน control )
  2. ชอบ ผู้หญิงพูดจาหวานๆ ไพเราะ ยิ้มหวาน (รู้สึกเหมือนมีคนกำลังให้บริการไงจ๊ะ )
  3. ชอบ ผู้หญิงที่สดชื่นสดใส ร่าเริง มีอารมณ์ขันบ้าง (รู้สึกความเครียดที่โดนเจ้านายว่าหดหาย )
  4. ชอบ ผู้หญิงเอาอกเอาใจเก่งในทุกเรื่อง ( เขาจะได้รู้สึกเหมือนอาเสี่ยไง )
  5. ชอบ ผู้หญิงที่ทำให้เขารู้สึกสบายใจ อบอุ่น อยากอยู่ใกล้ ๆ (เป็นสิ่งที่เขาโหยหาตลอดเวลา แต่ไม่กล้าเปิดเผย )
  6. ชอบ ผู้หญิงแกล้งโง่ แต่เก่ง มีความรู้ ความสามารถ (เขาจะได้รู้สึกมีความภูมิใจเหลืออยู่บ้างไง )
  7. ชอบ ผู้หญิงงอนนิดๆ (เขาจะได้ง้อได้ไง แต่อย่าให้ง้อบ่อยจนเขาเบื่อล่ะ )
  8. ชอบ ผู้หญิงที่แต่งตัวดูเรียบร้อย แต่แฝงด้วยความเซ็กซี่ มีเสน่ห์ และโรแมนติก ( เพื่อนและคนใกล้ชิด ได้อิจฉาไง )
  9. ชอบ ผู้หญิงออเซาะเก่ง (คิดว่าเขาเป็นรัฐมนตรี ต้องออเซาะโครงการ ถึงจะได้รับการอนุมัติ )
 10. ชอบ ผู้หญิงไฟแรงสูง (พุ่งเป็นจรวดนำวิถีไงล่ะ … ระวังไฟช็อตนะจ๊ะ )

ลองทำตามคำแนะนำดูนะคะ :)

ขอขอบคุณข้อมูลสะกิด

✿*• เกร็ดความรู้ ข้อคิดดีๆ สำหรับคู่รัก •*✿

สะกิด มีข้อคิดดีๆ สำหรับคนรักกัน มาฝาก ลองอ่านดูนะคะ

  1. จริงใจแต่ไม่จริงจัง มีความจริงใจต่อกัน ซื่อสัตย์ต่อกัน แต่เราไม่คิดจริงจังในการมีชีวิตคู่ เพราะเราถือว่าอนาคตเป็นสิ่งไม่แน่นอน

  2. พูดคุยกันทุกเรื่อง การได้พูดคุยกันทำให้คนสองคนมีความเข้าใจกันมากขึ้น

  3. การเชื่อใจและไว้ใจกัน เราต้องทำใจให้เชื่อใจอีกฝ่ายให้ได้ และต้องทำตัวเองให้เข้าไว้ใจด้วย

  4. การรู้จักปรับตัวเขาหากันคนละครึ่งทาง การเปิดใจกว้างยอมรับในความเป็นตัวเขา และให้เขารับในความเป็นเรา

  5. การทำตัวให้รู้จักกาลเทศะ คือการที่เราต้องรู้ว่าอะไรควรทำ อะไรควรพูด ตอนไหน

  6. ควรพูดให้ติดปากคำเหล่านี้ ขอโทษ ขอบคุณ ให้อภัย พูดขอโทษเมื่อเรารู้ว่าผิด พูดขอบคุณเมื่อเขาทำอะไรให้เรา พูดให้อภัยในสิ่งที่เขาผิด คำพูดเหล่านี้แหละ เป็นคำพูดที่เชื่อมเราทั้งคู่

  7. รู้จักระงับอารมณ์ ทั้งความโมโห และความขำขัน

  8. แลกเปลี่ยนประสบการณ์ การคุยกันเล่าเรื่องต่างของกันและกัน ให้อีกฝ่ายรับรู้ ทำให้เขาและเราต่างรู้จักกันดี และสามารถรู้ ความเป็นมาเป็นไปของกันและกันได้ดีอีกด้วย

  9. อย่าโกหก ทุกเรื่อง ถ้าเราทำผิดไปให้บอกเขาตรง ๆ ถ้ายังรักเขาอยู่ การโกหกไม่ใช่สิ่งดี หันหน้าบอกกับเขาอย่างเปิดเผย

 10. การเป็นทุกอย่างให้กันและกัน การที่เราเป็นแฟนกันไม่ จำเป็นต้องหวานชื่นเสมอ เราต้องสามารถเป็๋นเพื่อนเขาได้ เป็นพี่ เป็นน้อง หรือแม้แต่เป็นพ่อแม่เขาก็ต้องเป็น เพราะเชื่อว่าบางคนไม่สามารถ คุยกับพ่อแม่ได้ทุกเรื่อง ฉะนั้นเรานี้แหละในฐานะแฟนต้องช่วยเขา

การสังเกต คนรักในเรื่องเล็กๆน้อยๆ จะทำให้เราเข้าใจเค้ามากขึ้นนะคะ