Dekdee.com

วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เพลงแนว อินดี้ คืออะไร?

".. “เพลงอินดี้” เชื่อว่าหลายคนคงอยากรู้ว่า เพลงอินดี้ คืออะไร? หมายถึงอะไร? โดยรากศัพท์ เพลงอินดี้ มาจากคำว่า Independent หมายถึง อิสระ ดังนั้นตามความหมายแล้ว เพลงอินดี้ หรือดนตรีอินดี้ก็คือดนตรีที่ผู้ผลิตคิดเองและทำเองอย่างมีอิสระ ปัจจุบันคำว่า เพลงอินดี้ ค่อยๆ แทรกซึมเข้าไปทำความรู้จักกับแฟนเพลงที่เบื่อดนตรีแนวเดิมๆ อยากหาสิ่งแปลกใหม่

         เพลงอินดี้ (อิสระ) มาจากวงดนตรีอิสระ และนักดนตรีอิสระ (Independent Music from Independent Bands and Independent Musicians) น่าจะเป็นคำจำกัดความของความเป็น “อินดี้” ที่รวบรัด



ต้นกำเนิด “เพลงอินดี้” เกิดขึ้นมาจาก…

         ในยุคหนึ่งของวงการเพลง มีแต่แนวดนตรีสไตล์เดิมๆ ทำให้คนกลุ่มหนึ่งที่มีรสนิยมการฟังเพลง ไม่ชอบอะไรซ้ำซาก คนกลุ่มนี้จึงพยายามแหวกแตกต่าง พูดง่ายๆ ก็คือต่อต้านกระแสหลัก หันไปทำดนตรีอะไรที่ตัวเองชอบ ทำให้ดนตรีมีแนวหลากหลายมากขึ้น

         แต่ทุกวันนี้คนสับสนกันมาก กับคำว่า “เพลงอินดี้” จริงๆ แล้ว คำว่าอินดี้มันเป็นระบบการทำงาน ที่ว่าไม่ยึดติดค่าย มีอิสระในการทำงานสูง ไม่ใช่แนวเพลงใดๆ ทั้งสิ้น เหมือนคนสับสนคิดว่า Chill Out คือชื่อแนวเพลง ซึ่งความจริงมันเป็นอารมณ์ต่างหาก ดังนั้นเพลงอินดี้ อาจเป็น แร๊ป ร๊อค ฮิปฮอป อิเล็คโทรนิก้า ดรัมแอนเบส ดั๊บ เฮฟวี่เมทัล ฯลฯ แต่ทั้งหมดนี้ไม่ใช่อินดี้…เพราะเพลงอินดี้คือชื่อระบบการทำงาน

         เมื่อดูจากความเป็นมา ดนตรีอินดี้ ได้มีส่วนเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมดนตรีไปตลอดกาล และพร้อมที่จะขับเคลื่อนไปข้างหน้าในทุกยุคสมัย

         เพลงอินดี้ คือ นักร้องหรือวงดนตรีที่ทำงานในการสร้างสรรค์ดนตรีและบทเพลงออกมาจากมัน สมองอย่างหนักเหนื่อย แต่ค่ายเพลงยักษ์ใหญ่ไม่เคยสนใจ วิทยุก็ไม่เคยเปิดเพลงให้ เพราะเป็นศิลปินหน้าใหม่ไม่มีชื่อเสียง และถ้าอยู่ภายใต้สังกัดค่ายเพลงอินดี้เป็นอิสระด้วยตัวเอง ยิ่งไม่มีทางเลย

         เพราะมีเพียงบริษัทเพลงยักษ์ใหญ่เพียงไม่กี่แห่งที่มีอำนาจควบคุมตลาด เพลงอยู่ สาเหตุหนึ่งเพราะพวกเขาได้ก่อร่างสร้างอุตสาหกรรมเพลงและธุรกิจในสายนี้ขึ้น มาตั้งแต่ยุคบุกเบิก จนทำให้เป็นองค์กรทางธุรกิจที่ประสบความสำเร็จสูงสุด

หาก ดูความหมายดั้งเดิม “เพลงอินดี้” หมายถึง งานเพลงของวงดนตรีที่ออกกับค่ายเพลงอิสระ แต่ปัจจุบันได้แปรผันเป็นแนวดนตรีที่ออกกับค่ายยักษ์ใหญ่ก็ได้ โดยตลาดจะเป็นกลุ่มนักเรียนนักศึกษาหรือผู้ใหญ่ที่ต้องการฟังสิ่งที่ดีและ ใหม่กว่าที่มีอยู่ในท้องตลาด ไม่ใช่กระแสหลัก และไม่เดินตามก้นคนอื่น ไม่ใส่ใจในบางสิ่งบางอย่างที่อยู่ในเวลาเดียวกัน อยู่เหนือทุกๆ สิ่ง

         ที่จริงแล้ว ขอบข่ายของ “Independent” ที่ใช้กันบ่อยแบบหยาบๆ กว้างๆ มีหลายแบบด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นค่ายเพลงแยกย่อยของบริษัทเพลงยักษ์ใหญ่ ซึ่งก็ไม่ใช่เป็นอิสระไปทั้งหมด หรือเป็นค่ายเพลงเล็กๆ ในบริษัทเพลงยักษ์ใหญ่เช่นกัน แต่เจาะจงทำขึ้นมาเพื่อรองรับศิลปินระดับซูเปอร์สตาร์เป็นกรณีพิเศษเท่านั้น หรือค่ายเพลงอิสระที่อาศัยเครือข่ายการบริหารจัดการและจัดจำหน่ายของค่าย เพลงยักษ์ใหญ่ หรือค่ายเพลงที่เรียกดนตรีของตัวเองว่า อินดี้ มิวสิค ซึ่งอาจจะมีระบบที่เป็นแบบค่ายเพลงยักษ์ใหญ่หรือแบบค่ายเพลงอิสระก็ได้ หรือค่ายเพลงอิสระที่แตกต่างกับค่ายเพลงยักษ์ใหญ่หรือกระแสหลักแบบจริงๆ

         เพราะโดยหลักของความเป็นอิสระหรืออินดี้แล้ว ไม่ได้ตั้งแง่รังเกียจอุตสาหกรรมดนตรี เพียงแต่ต้องการเป็นนายของตัวเอง และหลีกเลี่ยงระเบียบแบบแผนที่ของบริษัทเพลงซึ่งใช้กันอยู่ประจำ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องต้นทุนหรือการเข้ามาบังคับกะเกณฑ์ในตัวงาน การใช้บริการของหน่วยธุรกิจใหญ่ๆ บางครั้งก็จะช่วยให้ทำในสิ่งที่ต้องการให้มีความเป็นไปได้ และยืนอยู่ในฐานะอิสระ เพราะ ‘อินดี้’ ไม่ใช่คำที่เคร่งครัดตายตัว

         ศิลปินอินดี้ต้องมีคุณสมบัติขั้นพื้นฐาน DIY (Do-It-Yourself) คือศิลปินทำดนตรีและงานเพลงด้วยตัวของพวกเขาเอง และนั่นคือ อินดี้..."

http://www.eduzones.com/knowledge-2-12-49654.html

ความรู้เรื่องยาเสพติด

ความรู้เรื่องยาเสพติด

๑. ความหมายของยาเสพติด
          ยาเสพติด  หมายถึง สารใดก็ตามที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ หรือสารที่สังเคราะห์ขึ้น เมี่อนำเข้าสู้ร่างกายไม่ว่าจะโดยวิธีรับประทาน ดม สูบ ฉีด หรือด้วยวิธีการใด ๆ แล้ว ทำให้เกิดผลต่อร่างกายและจิตใจ นอกจากนี้ยังจะทำให้เกิดการเสพติดได้ หากใช้สารนั้นเป็นประจำทุกวัน หรือวันละหลาย ๆ ครั้ง
          ลักษณะสำคัญของสารเสพติด จะทำให้เกิดอาการ และอาการแสดงต่อผู้เสพดังนี้
              ๑.  เกิดอาการดื้อยา หรือต้านยา และเมื่อติดแล้ว ต้องการใช้สารนั้นในประมาณมากขึ้น
              ๒.  เกิดอาการขาดยา ถอนยา หรืออยากยา เมื่อใช้สารนั้นเท่าเดิม ลดลง หรือหยุดใช้
              ๓.  มีความต้องการเสพทั้งทางร่างกายและจิตใจ อย่างรุนแรงตลอดเวลา
              ๔.  สุขภาพร่างกายทรุดโทรมลง เกิดโทษต่อตนเอง  ครอบครัว  ผู้อื่น  ตลอดจนสังคม และประเทศชาติ
๒. ประเภทของยาเสพติด
          ยาเสพติด แบ่งได้หลายรูปแบบ ตามลักษณะต่าง ๆ ดังนี้

           ๑.  แบ่งตามแหล่งที่เกิด  ซึ่งจะแบ่งออกเป็น  ๒  ประเภท คือ
                  ๑.๑  ยาเสพติดธรรมชาติ  (Natural  Drugs) คือยาเสพติดที่ผลิตมาจากพืช เช่น  ฝิ่น กระท่อม  กัญชา  เป็นต้น
                  ๑.๒  ยาเสพติดสังเคราะห์  (Synthetic  Drugs)  คือยาเสพติดที่ผลิตขึ้นด้วยกรรมวิธีทางเคมี  เช่น เฮโรอีน  แอมเฟตามีน  เป็นต้น
              ๒.  แบ่งตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.๒๕๒๒  ซึ่งจะแบ่งออกเป็น ๕ ประเภท คือ
                  ๒.๑  ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๑  ได้แก่ เฮโรอีน  แอลเอสดี  แอมเฟตามีน หรือยาบ้า  ยาอีหรือยาเลิฟ
                  ๒.๒  ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๒  ยาเสพติดประเภทนี้สามารถนำมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์ได้  แต่ต้องใช้ภายใต้การควบคุมของแพทย์    และใช้เฉพาะกรณีที่จำเป็นเท่านั้น ได้แก่  ฝิ่น  มอร์ฟีน  โคเคน หรือโคคาอีน  โคเคอีน  และเมทาโดน
                  ๒.๓  ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่  ๓   ยาเสพติดประเภทนี้เป็นยาเสพติดให้โทษที่มียาเสพติดประเภทที่  ๒   ผสมอยู่ด้วย มีประโยชน์ทางการแพทย์   การนำไปใช้เพื่อจุดประสงค์อื่น หรือเพื่อเสพติด จะมีบทลงโทษกำกับไว้  ยาเสพติดประเภทนี้ ได้แก่
ยาแก้ไอ  ที่มีตัวยาโคเคอีน  ยาแก้ท้องเสีย ที่มีฝิ่นผสมอยู่ด้วย  ยาฉีดระงับปวดต่าง ๆ เช่น มอร์ฟีน  เพทิดีน  ซึ่งสกัดมาจากฝิ่น
                  ๒.๔  ยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่  ๔  คือสารเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดให้โทษ ประเภทที่ ๑ หรือประเภทที่ ๒   ยาเสพติดประเภทนี้ไม่มีการนำมาใช้ประโยชน์ในการบำบัดโรคแต่อย่างใด  และมีบทลงโทษกำกับไว้ด้วย  ได้แก่น้ำยาอะเซติคแอนไฮไดรย์ และ อะเซติลคลอไรด์  ซึ่งใช้ในการเปลี่ยนมอร์ฟีนเป็นเฮโรอีน  สารคลอซูไดอีเฟครีน  สามารถใช้ในการผลิตยาบ้าได้ และวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาทอีก ๑๒ ชนิด  ที่สามารถนำมาผลิตยาอีและยาบ้าได้ในยาเสพติดประเภทที่ ๑ ถึง ๔  ได้แก่  ทุกส่วนของพืชกัญชา  ทุกส่วนของพืชกระท่อม   เห็ดขี้ควาย เป็นต้น
              ๓.  แบ่งตามการออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท  ซึ่งแบ่งออกเป็น ๔ ประเภท คือ
                  ๓.๑  ยาเสพติดประเภทกดประสาท  ได้แก่   ฝิ่น   มอร์ฟีน   เฮโรอีน   สารระเหย  และยากล่อมประสาท
                  ๓.๒  ยาเสพติดประเภทกระตุ้นประสาท  ได้แก่  แอมเฟตามีน  กระท่อม และ โคคาอีน
                  ๓.๓  ยาเสพติดประเภทหลอนประสาท  ได้แก่  แอลเอสดี  ดีเอ็มพี  และ เห็ดขี้ควาย
                  ๓.๔  ยาเสพติดประเภทออกฤทธิ์ผสมผสาน    กล่าวคือ  อาจกดกระตุ้น หรือ หลอนประสาทได้พร้อม ๆ กัน  ตัวอย่างเช่น  กัญชา
              ๔.  แบ่งตามองค์การอนามัยโลก  ซึ่งแบ่งออกได้เป็น  ๙  ประเภท คือ
                  ๔.๑  ประเภทฝิ่น  หรือ  มอร์ฟีน   รวมทั้งยาที่มีฤทธิ์คล้ายมอร์ฟีน  ได้แก่ ฝิ่น  มอร์ฟีน  เฮโรอีน   เพทิดีน
                  ๔.๒  ประเภทยาปิทูเรท  รวมทั้งยาที่มีฤทธิ์ทำนองเดียวกัน ได้แก่  เซโคบาร์ปิตาล  อะโมบาร์ปิตาล  พาราลดีไฮด์  เมโปรบาเมท ไดอาซีแพม เป็นต้น
                  ๔.๓  ประเภทแอลกอฮอล  ได้แก่  เหล้า   เบียร์  วิสกี้
                  ๔.๔  ประเภทแอมเฟตามีน  ได้แก่  แอมเฟตามีน  เมทแอมเฟตามีน
                  ๔.๕  ประเภทโคเคน  ได้แก่  โคเคน  ใบโคคา
                  ๔.๖  ประเภทกัญชา  ได้แก่  ใบกัญชา  ยางกัญชา
                  ๔.๗  ประเภทใบกระท่อม
                  ๔.๘  ประเภทหลอนประสาท  ได้แก่ แอลเอสดี  ดีเอ็นที  เมสตาลีน  เมลัดมอนิ่งกลอรี่   ต้นลำโพง  เห็ดเมาบางชนิด
                  ๔.๙  ประเภทอื่น ๆ  นอกเหนือจาก  ๘  ประเภทข้างต้น  ได้แก่  สารระเหยต่าง ๆ  เช่น ทินเนอร์  เบนซิน  น้ำยาล้างเล็บ  ยาแก้ปวด  และบุหรี่
๓. วิธีการเสพยาเสพติด
          กระทำได้หลายวิธี ดังนี้คือ
                  ๓.๑  สอดใต้หนังตา
                  ๓.๒  สูบ
                  ๓.๓  ดม
                  ๓.๔  รับประทานเข้าไป
                  ๓.๕  อมไว้ใต้ลิ้น
                  ๓.๖  ฉีดเข้าเหงือก
                  ๓.๗  ฉีดเข้าเส้นเลือด
                  ๓.๘  ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
                  ๓.๙  เหน็บทางทวารหนัก
๔. ยาเสพติดที่แพร่ระบาดในประเทศไทย  ได้แก่
                  ๔.๑  ยาบ้า
                  ๔.๒  ยาอี  ยาเลิฟ  หรือ เอ็กซ์ตาซี
                  ๔.๓  ยาเค
                  ๔.๔  โคเคน
                  ๔.๕  เฮโรอีน
                  ๔.๖  กัญชา
                  ๔.๗  สารระเหย
                  ๔.๘  แอลเอสดี
                  ๔.๙  ฝิ่น
                  ๔.๑๐  มอร์ฟีน
                  ๔.๑๑  กระท่อม
                  ๔.๑๒  เห็ดขี้ควาย
๕. สาเหตุของการติดยาเสพติด
          มีหลายประการ ดังนี้คือ
                  ๕.๑  อยากลอง อยากรู้ อยากเห็น อยากสัมผัส ซึ่งเป็นสัญชาตญาณอย่างหนึ่งของมนุษย์  โดยคิดว่า "ไม่ติด"  แต่เมื่อลองเสพเข้าไปแล้วมักจะติด
                  ๕.๒  ถูกเพื่อนชักชวน  ส่วนใหญ่พบในกลุ่มเยาวชน ทำตามเพื่อน  เพราะต้องการ การยอมรับจากเพื่อนฝูง หรือถูกชักจูงว่าใช้แล้วทำให้สมองปลอดโปร่ง  หรือใช้แล้วทำให้ขยันจึงเหมาะแก่การเรียน และการทำงาน
                  ๕.๓  ถูกหลอกลวง  โดยอาศัยรูปแบบสีสันสวยงาม  ทำให้ผู้รับไม่อาจทราบได้ว่า สิ่งที่ตนได้รับเป็นยาเสพติด
                  ๕.๔  ใช้เพื่อลดความเจ็บปวดทางกาย  อันเนื่องมาจากโรคภัยไข้เจ็บ  จนเกิดการติดยา เพราะใช้เป็นประจำ
                  ๕.๕  เกิดจากความคนอง และขาดสติยั้งคิด ทั้ง ๆ ที่รู้ว่าเป็นยาเสพติด แต่อยากแสดง ความเก่งกล้า อวดเพื่อน จึงชวนกันเสพจนติด
                  ๕.๖  ภาวะสิ่งแวดล้อมรอบตัว เอื้ออำนวยที่จะส่งเสริม  และผลักดันให้หันเข้าหายาเสพติด เช่น  ครอบครัวแตกแยก สมาชิกในครอบครัวขาดความเข้าใจซึ่งกันและกัน ภาวะเศรษฐกิจบีบบังคับให้ทำเพื่อความอยู่รอด  อยากรวยเร็ว หรือพักอาศัยอยู่ ในแหล่งที่มีการเสพและค้ายาเสพติด
๖. โทษ/พิษภัย ของยาเสพติด
          การใช้ยาเสพติด  มีโทษและพิษภัยรอบตัว นอกจากจะส่งผลกระทบในทางไม่ดีโดยตรงต่อตัวผู้เสพแล้ว ทั้งทางร่างกายและจิตใจ  ยังส่งผลกระทบทางอ้อมไปยังครอบครัวผู้เสพ ตลอดจนเศรษฐกิจ  สังคม และประเทศชาติอีกด้วย
บทลงโทษเกี่ยวกับยาเสพติดให้โทษ
        - ผู้จำหน่ายหรือมีเฮโรอีนไว้ในครอบครอง น้ำหนักไม่เกิน 100 กรัม จำคุกตั้งแต่ 5 ปี ถึงตลอดชีวิต
และปรับตั้งแต่ 50,000-500,000 บาท เกิน 100 กรัม ประหารชีวิตหรือจำคุกตลอดชีวิต
        - มีเฮโรอีนไว้ในครอบครอง โทษจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี และปรับตั้งแต่ 10,000-100,000 บาท
        - ผู้เสพเฮโรอีนมีโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน - 10 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000-100,000 บาท
        - มีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย โทษจำคุกตั้งแต่ 2-15 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000-150,000 บาท
        - ผู้ใดเสพกัญชา จำคุกไม่เกิน 1 ปี และปรับไม่เกิน 10,000 บาท
        - มีกัญชาไว้ในครอบครอง โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และปรับไม่เกิน 50,000 บาท
        - ผลิต (ปลูก) กัญชา จำคุกอย่างต่ำ 2 ปี และปรับอย่างต่ำ 20,000-150,000บาท
สารระเหย สารเสพติด ผิดกฎหมาย
๗. วิธีสังเกตุอาการผู้ติดยาเสพติด
            จะสังเกตว่าผู้ใดใช้หรือเสพยาเสพติด  ให้สังเกตจากอาการและการเปลี่ยนแปลงทั้งทางร่างกาย และจิตใจดังต่อไปนี้
                  ๗.๑  การเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย  จะสังเกตได้จาก
                      ๗.๑.๑   สุขภาพร่างกายทรุดโทรม  ซูบผอม  ไม่มีแรง  อ่อนเพลีย
                      ๗.๑.๒  ริมฝีปากเขียวคล้ำ  แห้ง  และแตก
                      ๗.๑.๓  ร่างกายสกปรก  เหงื่อออกมาก  กลิ่นตัวแรงเพราะไม่ชอบอาบน้ำ
                      ๗.๑.๔  ผิวหนังหยาบกร้าน  เป็นแผลพุพอง  อาจมีหนองหรือน้ำเหลือง คล้ายโรคผิวหนัง
                      ๗.๑.๕  มีรอยกรีดด้วยของมีคม  เป็นรอยแผลเป็นปรากฏที่บริเวณแขน  และ/หรือ ท้องแขน
                      ๗.๑.๖  ชอบใส่เสื้อแขนยาว  กางเกงขายาว  และสวมแว่นตาดำเพื่อปิดบังม่านตาที่ ขยาย
                  ๗.๒  การเปลี่ยนแปลงทางจิตใจ  ความประพฤติและบุคลิกภาพ  สังเกตุได้จาก
                      ๗.๒.๑  เป็นคนเจ้าอารมย์  หงุดหงิดง่าย  เอาแต่ใจตนเอง  ขาดเหตุผล
                      ๗.๒.๒  ขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่
                      ๗.๒.๓  ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง
                      ๗.๒.๔  พูดจากร้าวร้าว  แม้แต่บิดามารดา  ครู อาจารย์  ของตนเอง
                      ๗.๒.๕  ชอบแยกตัวอยู่คนเดียว ไม่เข้าหน้าผู้อื่น  ทำตัวลึกลับ
                      ๗.๒.๖  ชอบเข้าห้องน้ำนาน ๆ
                      ๗.๒.๔  ใช้เงินเปลืองผิดปกติ  ทรัพย์สินในบ้านสูญหายบ่อย
                      ๗.๒.๕  พบอุปกรณ์เกี่ยวกับยาเสพติด  เช่น  หลอดฉีดยา  เข็มฉีดยา  กระดาษตะกั่ว
                      ๗.๒.๖  มั่วสุมกับคนที่มีพฤติกรรมเกี่ยวกับยาเสพติด
                      ๗.๒.๗  ไม่สนใจความเป็นอยู่ของตนเอง  แต่งกายสกปรก ไม่เรียบร้อย ไม่ค่อยอาบน้ำ
                      ๗.๒.๘  ชอบออกนอกบ้านเสมอ ๆ  และกลับบ้านผิดเวลา
                      ๗.๒.๙  ไม่ชอบทำงาน  เกียจคร้าน  ชอบนอนตื่นสาย
                      ๗.๒.๑๐  มีอาการวิตกกังวล   เศร้าซึม   สีหน้าหมองคล้ำ
                  ๗.๓  การสังเกตุอาการขาดยา  ดังต่อไปนี้
                      ๗.๓.๑  น้ำมูก  น้ำตาไหล หาวบ่อย
                      ๗.๓.๒  กระสับกระส่าย  กระวนกระวาย  หายใจถี่  ปวดท้อง  คลื่นไส้  อาเจียน  เบื่ออาหาร  น้ำหนักลด  อาจมีอุจาระเป็นเลือด
                      ๗.๓.๓  ขนลุก  เหงื่อออกมากผิดปกติ
                      ๗.๓.๔  ปวดเมื่อยตามร่างกาย  ปวดเสียวในกระดูก
                      ๗.๓.๕  ม่านตาขยายโตขึ้น  ตาพร่าไม่สู้แดด
                      ๗.๓.๖  มีอาการสั่น  ชัก  เกร็ง  ไข้ขึ้นสูง  ความดันโลหิตสูง
                     ๗.๓.๗  เป็นตะคริว
                      ๗.๓.๘  นอนไม่หลับ
                      ๗.๓.๙  เพ้อ  คลุ้มคลั่ง  อาละวาด  ควบคุมตนเองไม่ได้
๘. การตรวจพิสูจน์หาสารเสพติดในร่างกาย
          การตรวจหาสารเสพติดในร่างกาย  แบ่งออกเป็น ๒ ขั้นตอน
                   ๘.๑  การตรวจขั้นต้น : ราคาถูก ได้ผลเร็ว มีชุดตรวจสำเร็จรูป  ความแม่นยำในการตรวจปานกลาง  สดวกในการนำไปตรวจนอกสถานที่
                   ๘.๒  การตรวจขั้นยืนยัน : เป็นการตรวจที่ให้ผลแม่นยำ แต่ใช้เวลาตรวจนาน ค่าใช้จ่ายสูง
การป้องกันการติดยาเสพติด
        1. ป้องกันตนเอง ไม่ใช้ยาโดยมิได้รับคำแนะนำจากแพทย์ และจงอย่าทดลองเสพยาเสพติดทุกชนิดโดยเด็ดขาด เพราะติดง่ายหายยาก
        2. ป้องกันครอบครัว ควรสอดส่องดูแลเด็กและบุคคลในครอบครัวหรือที่อยู่รวมกัน อย่าให้เกี่ยวข้องกับยาเสพติด ต้องคอยอบรมสั่งสอนให้รู้ถึงโทษและภัยของยา-เสพติด หากมีผู้เสพยาเสพติดในครอบครัวจงจัดการให้เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลให้หาย เด็ดขาด การรักษาแต่แรกเริ่มติดยาเสพติดมีโอกาสหายได้เร็วกว่าที่ปล่อยไว้นานๆ
        3. ป้องกันเพื่อนบ้าน โดยช่วยชี้แจงให้เพื่อนบ้านเข้าใจถึงโทษและภัยของยาเสพติด โดยมิให้เพื่อนบ้านรู้เท่าไม่ถึงการณ์ต้องถูกหลอกลวง และหากพบว่าเพื่อนบ้านติดยาเสพติด จงช่วยแนะนำให้ไปรักษาตัวที่โรงพยาบาล
        4. ป้องกันโดยให้ความร่วมมือกับทางราชการ เมื่อทราบว่าบ้านใดตำบลใด มียาเสพติดแพร่ระบาดขอให้แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจทุกแห่งทุกท้องที่ทราบ หรือที่ศูนย์ปราบปรามยาเสพติดให้โทษ กรมตำรวจ (ศปส.ตร.) โทร. 252-7962 , 252-5932 และที่สำนักงานคณดะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (สำนักงาน ป.ป.ส.) สำนักนายกรัฐมนตรี โทร. 245-9350-9
สถานบำบัด
        1. โรงพยาบาลตำรวจ แผนกจิตเวช กรุงเทพฯ โทร.2528111-7
        2. โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า แผนกจิตเวช กรุงเทพฯ โทร.2461946
        3. โรงพยาบาลธัญญารักษ์ อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี โทร.5310080-8
        4. โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า กรุงเทพฯ โทร.4681116-20
        5. โรงพยาบาลทหารเรือกรุงเทพฯ โทร. 4112191
        6. ศูนย์บริการสาธารณสุข กรุงเทพฯ ลุมพินี ซอยปลุกจิตต์ ถ.วิทยุ โทร.2512970
        7. ศูนย์บริการสาธารณสุข กรุงเทพฯ สี่พระยา โทร.2364055
        8. สำนักสงฆ์ถ้ำกระบอก จ.สระบุรี
        9. สำนักสงฆ์ถ้ำเขาทะลุ จ.ราชบุรี


>>> แนะนำเลยว่าอย่าไปยุ่งกับสิ่งเหล่านี้เลย <<<

เกร็ดความรู้ ยิ่งพูดน้อย… ยิ่งได้ข้อมูลมาก

 
1. ยิ่งพูดน้อย ยิ่งปล่อยไก่ยาก ต้อง ยอมรับล่ะว่า สมัยนี้ผู้หญิงนั้นมีความรอบรู้ในหลายๆด้าน และเรื่องบางเรื่องพวกหล่อนก็รู้ดีมากกว่าชายซะอีก แล้วถ้าคุณเผลอปล่อยไก่หรือแสดงความโง่เขลาออกมาล่ะก็ คะแนนคุณดิ่งฮวบทันที

  2. ยิ่งพูดน้อย ยิ่งน่าเชื่อถือ คุณ ลองสังเกตดูในที่ทำงานคุณก็ได้ ว่าเพื่อนร่วมงานหรือหัวหน้าคุณฟังความเห็นของใครมากกว่า ระหว่างคนที่ขี้เล่นเม๊าไปเรื่อย กับคนที่เงียบขรึม…โดยทั่วไปแล้ว คนเรามักจะเชื่อถือคนที่พูดเฉพาะเวลาจำเป็นมากกว่า

  3. ยิ่งพูดน้อย ยิ่งดูลึกลับ ลึกลับแล้วยังไงน่ะเหรอ? ก็ทำให้คุณยิ่งดูเป็นบุรุษผู้น่าค้นหายังไงล่ะ ยิ่งทำให้เธออยากเข้าหาและทำความรู้จักตัวตนที่แท้จริงของคุณให้มากขึ้น

  4. ยิ่งพูดน้อย ยิ่งมีพลัง ผู้หญิงทั่วไปจะรู้สึกว่า ผู้ชายที่พูดมากเกินความจำเป็นเวลาที่จีบพวกหล่อนนั้น เป็นพวกที่ไม่มีความมั่นใจ และเกิดความประหม่าซะจนต้องพูดๆๆๆจนน้ำลายแตกฟอง ดังนั้นความเคร่งขรึมสุขุมของคุณ เป็นเครื่องบ่งบอกแทนคำพูดว่า ‘ผมไม่ประหม่าความสวยของคุณเลยแม้แต่น้อย!’ซึ่งมันแมนกว่ากันเยอะๆๆ

  5. ยิ่งพูดน้อย ยิ่งได้ข้อมูลมาก ผู้หญิง ส่วนใหญ่ทนความตึงเครียดอันเกิดจากบรรยากาศเงียบๆไม่ได้นานหรอก ดังนั้นยิ่งคุณพูดน้อยเวลาอยู่กับเธอ เธอยิ่งเผยไต๋เกี่ยวกับตัวเองให้คุณฟัง และเก็บไว้เป็นข้อมูลได้มากเท่านั้น ทำให้คุณสามารถวิเคราะห์เธอได้ง่ายขึ้น

  6. ยิ่งพูดน้อย ยิ่งต้องแก้ตัวน้อย ไม่มีใครพูดความจริงได้ตลอดเวลาหรอก ดังนั้นยิ่งคุณพูดน้อยเท่าไร คุณก็ไม่ต้องมานั่งกังวลว่าจะต้องโกหก หรือเคยโกหกอะไรไปแล้วบ้าง เดี๋ยวเกิดจำไม่ได้ขึ้นล่ะก็ยุ่งตายเลย

ใครที่ชอบพูดมาก พูดอยู่คนเดียวจนลืมฟังคนที่คุณพูดด้วย ระวังนะคะ วันหลัง จะไม่มีใครอยากพูดกับคุณ อิอิ

ขอบคุณสะกิดค่ะ

ละลายความเครียด ลดเมื่อยนอนไม่หลับ


บางครั้งที่เราไม่ได้รู้สึกว่าตัวเองมีเรื่องเครียดๆ หรือไม่มีอะไรให้ต้องคิดหนักสักนิด แต่กลับเกิดอาการปวดเมื่อยเนื้อตัว แถมยังนอนไม่หลับอีก เมื่อไปพบคุณหมอ ก็กลับได้รับคำวินิจฉัยว่า เป็นโรคเครียด

น.พ.วีรวุฒิ เอกกมลกุล แพทย์ด้าน ธรรมชาติบำบัด แห่ง เอส เมดิคอล สปา อธิบายว่า ความเครียดเป็นสภาวะที่เกิดขึ้นกับคนทุกคน ไม่เลือกอายุ เพศ เชื้อชาติ และชนชั้น หลายคนอาจจะเข้าใจเพียงว่า ความเครียดจะเกิดจากความวิตกกังวล ปัญหาที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของทุกคน

แต่แท้จริงแล้ว ความเครียดเกิดได้ตลอดเวลาแม้ว่าจะไม่มีความวิตกกังวลใดๆ เพราะความเครียด เกิดจากการเปลี่ยนแปลงในชีวิตของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นที่พอใจหรือไม่ก็ตาม เพราะการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจะนำไปสู่การปรับตัวใหม่

ความเครียดมีทั้งแบบที่ดีและไม่ดี ความเครียดที่ ดี (Eustress) เป็นความเครียดที่มนุษย์แสวงหา เช่น การขยายธุรกิจ การเปลี่ยนนิสัยการกินเพื่อลดน้ำหนัก การสอบ เป็นต้น ส่วนความเครียดที่ไม่ดี เป็นความเครียดที่เราหลีกเลี่ยง เช่น การตกงาน ป่วยรุนแรงหรือเรื้อรัง การถูกจำคุก

หมอวีรวุฒิ กล่าวว่า ตามหลักทางการแพทย์จะมีการกำหนดคะแนนของความเครียดไว้ตามแต่ละสถานการณ์ เช่น การตายของคู่สมรส มีคะแนนความเครียดถึง 123 คะแนน การหย่าร้าง 100 คะแนน การตายของคนในครอบครัว 94 คะแนน อันนี้เป็นคะแนนจากสถานการณ์ชีวิตที่ไม่ต้องการ

แต่ถ้าเป็นสถานการณ์ที่มนุษย์แสวงหา เช่น การปรับธุรกิจใหม่ มี 64 คะแนน ความโด่งดัง มีชื่อเสียง 39 คะแนน และยังมีอีกหลายสถานการณ์ ซึ่งหากในรอบปีหนึ่งๆ เกิดความเปลี่ยนแปลงในชีวิตมาก คะแนนความเครียดของคนนั้นก็จะสูงขึ้นไปด้วย

นอกจากนี้ การทำภารกิจต่างๆ ในชีวิตประจำวันที่ผิดท่าก็ทำให้เกิดความเครียดได้เช่นกัน เช่น การนอนคว่ำ ลำตัวแอ่น จะทำให้เกิดความเครียด การยกของโดยการก้มตัวหลังโค้ง ก็ทำให้เกิดความเครียด

ความเครียดสะสมเหล่านี้ล้วนเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดการเจ็บป่วยทั้งทาง กายและทางจิตได้ หากไม่ได้รับการผ่อนคลาย ดังนั้น สิ่งที่ดีที่สุด คือ จะต้องพยายามหาทางผ่อนคลายความเครียด แม้จะไม่รู้สึกว่ามีเรื่องวิตกกังวลอะไรก็ตามŽ
หมอวีรวุฒิยังให้คำแนะนำ วิธีการผ่อนคลายความเครียดง่ายๆ ว่า สิ่งที่ดีที่สุดก็คือการหาเวลาในการออกกำลังกาย เดิน วิ่ง หรือทำกิจกรรมที่ทำให้ร่างกาย กล้ามเนื้อได้ทำงาน ก็จะสามารถละลายความเครียดที่เกิดขึ้นในแต่ละวันได้ และที่สำคัญ การปฏิบัติภารกิจต่างๆ ก็ควร จะใช้วิธีที่ถูกต้อง เช่น การยืน ควรยืนตัวตรง ไม่ยืนหลังงอ เพื่อให้ระบบต่างๆ ของร่างกายทำงานได้สะดวก การนอนก็ควรหาท่านอนที่สบายและถูกต้อง เป็นต้น

แค่นี้ก็จะได้ไม่มีความเครียดสะสม

ปะการังในท้องทะเลไทย

ปะการัง ( Coral )


ปะการัง เป็นสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งจัดอยู่ในประเภทสัตว์ทะเลที่ไม่มีกระดูกสันหลัง ( ที่มีกระดูกสันหลังคือปลาต่างๆ ) ปะการังมีมากมายหลายชนิดมีทั้งปะการังแข็ง ปะการังอ่อน หลากสีสันและหลากหลายรูปร่างเช่นปะการังเขากวาง ปะการังดอกเห็ด และอีกมากมาย  ประเทศไทยเรามีปะการังมากมายเพราะประเทศเราอยู่เขตร้อน  ปะการังอยู่ได้เฉพาะเขตร้อนและใกล้เขตร้อนที่อุณหภูมิของน้ำไม่ต่ำกว่า 18 องศาเซลเซียส  ดังนั้นประเทศในเขตหนาวจึงไม่มีปะการัง นักท่องเที่ยวต่างประเทศจึงมาเที่ยวเมืองไทยเพื่อมาดำน้ำดูปะการังสวยๆ ดูสิ่งมีชีวิตมากมายในแนวปะการัง ทะเลฝั่งอันดามันของเรามีปะการังที่สวยงามอย่างเช่นเกาะสิมิลันที่มีความสวยงามใต้น้ำติดอันดับโลก ความสวยงามใต้น้ำที่ว่านั้นก็คือปะการังนั่นเอง ปะการังเป็นทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลที่สำคัญ เป็นที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์น้ำ เป็นแหล่งอาหารเพื่อการเจริญเติบโต เป็นแหล่งเพราะพันธุ์และวางไข่ เป็นแหล่งหลบภัยของสัตว์น้ำต่างๆ ดังนั้นปะการังจึงเป็นเหมือนผู้ผลิตและเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตในทะเล  แต่สำหรับนักท่องเที่ยวแล้วปะการังเป็นสิ่งวิเศษสุดสำหรับความสวยงามของโลกใต้ทะเล  ที่ใดมีปะการังอุดมสมบูรณ์ที่นั่นย่อมมีสิ่งมีชีวิตหลากหลาย มีปลาสวยๆ ที่มาอาศัยหลบภัยและหากินตามแนวปะการัง มีกุ้งสวยๆ ให้เราได้ชม
ปะการัง ( Coral ) เมื่ออยู่รวมกันในบริเวณหนึ่งเราเรียกว่าแนวปะการัง ( Reef ) ก็เหมือนกับต้นไม้แหล่ะครับ เมื่ออยู่ต้นเดียวเราเรียกต้นไม้ เมื่อมีอยู่รวมกันมากๆ เราเรียกว่าป่า  ดังนั้นแนวปะการังก็เปรียบเสมือนเป็นป่าแห่งท้องทะเล  แนวปะการังในท้องทะเลไทยมีหลายแบบคือ

1. แนวปะการังริมฝั่ง ( fringing reef )
เกิดจากสะสมหินปูนอันเกิดจากโครงสร้างของปะการังแข็งที่ทับถมกันเรื่อยมาจนก่อเกิดเป็นแนวหินปะการัง แนวปะการังริมฝั่งแบ่งเป็น 3 เขตตามลักษณะของชายฝั่งดังภาพข้างล่าง คือ บริเวณแนวราบชายฝั่งบริเวณน้ำตื้น - บริเวณแนวสันที่เป็นจุดเปลี่ยนระหว่างน้ำตื่นและน้ำลึก - บริเวณแนวลาดชันเป็นส่วนที่ลาดลงสู่ระดับน้ำลึก  ไปจนสุดเขตนอกแนวปะการัง บริเวณที่น้ำลึกมากๆ จะไม่มีปะการังทั้งนี้เนื่องจากปริมาณแสงแดดที่ส่งไปถึงพื้นมีน้อย
  

1. ปะการังบริเวณแนวราบ  เป็นส่วนที่อยู่ติดกับชายฝั่ง บริเวณใกล้ชายฝั่งมักไม่มีปะการังอยู่เลย ( หาดทราย ) เพราะเวลาน้ำลงบริเวณนี้จะโผล่พ้นน้ำเป็นเวลานานทำให้มีการเปลี่ยนอุณหภูมิมาก และยังมีอิทธิพลมาจากน้ำจืดที่ไหลออกจากชายฝั่งเวลาที่มีฝนตกลงมา ปะการังริมฝั่งจะพบมากบริเวณนอกของแนวราบใกล้แนวสันที่ห่างชายฝั่ง
2. ปะการังบริเวณแนวสัน เป็นเขตรอยต่อระหว่างแนวราบส่วนบนและแนวลาดชัน บริเวณนี้เป็นบริเวณที่มีปะการังชนิดต่างๆ อยู่เป็นจำนวนมาก ลักษณะเด่นของที่ขึ้นอยู่บริเวณนี้คือ โขด จาน และกิ่ง
3. บริเวณแนวลาดชัน อยู่ในบริเวณน้ำลึก  เป็นส่วนที่ลาดลงสู่พื้นทะเลบริเวณนี้มีปะการังอยู่ไม่มากนัก ลักษณะของปะการังบริเวณแนวลาดชันคือปะการังกิ่ง ปะการังแผ่น ปะการังอ่อน และกัลปังหา
แนวนอกปะการัง เป็นบริเวณที่เป็นพื้นทรายมีปะการังอยู่บ้างประปรายและไม่มีปะการังเลยในระดับที่ลึก
2. กลุ่มปะการังบนพื้นทราย ( patch reef )
เป็นลักษณะของปะการังขึ้นเป็นกลุ่มอยู่บนพื้นทราย โดยที่แต่ละกลุ่มอาจเป็นปะการังชนิดโขดใหญ่และมีปะการังชนิดอื่นๆ บนโขดนั้น เป็นลักษณะของรูปแบบการเกิดของแนวปะการังในพื้นที่ซึ่งค่อนข้างจะเปิดรับแรงปะทะของคลื่นมากกว่าปะการังริมฝั่ง หรือพบบริเวณร่องน้ำระหว่างเกาะซึ่งมีกระแสน้ำไหลเชี่ยว ถึงแม้จะมีการสร้างหินปูนแต่ไม่มีการก่อเป็นแนวหินปะการัง ในกลุ่มปะการังบนพื้นทรายนี้จะมีความหลากหลายของชนิดสัตว์รวมทั้งปะการัง แต่ในบางพื้นที่อาจจะพบเพียงปะการังโขด หรือปะการังเขากวางเพียงอย่างเดียว

ภาพกลุ่มปะการังบนพื้นทราย
3. กลุ่มปะการังบนโขดหิน  ( coral community on rocky coast )
เป็นปะการังที่เกาะยึดติดอยู่บนโขดหินใต้น้ำ ชนิดของปะการังเป็นชนิดที่เติบโตได้ในแนวปะทะของคลื่นที่รุนแรงได้ มักเป็นปะการังที่เป็นแผ่นเคลือบบนหิน เป็นพุ่มเป็นกิ่งๆ และหนา หรือเป็นหัวขนาดเล็กยึดติดกับโขดหิน บริเวณนี้มักจะไม่มีการทับถมของซากหินปูนจนเป็นแนวปะการัง

ภาพกลุ่มปะการังบนโขดหิน
4. แหล่งกัลปังหา และปะการังอ่อน ( sea fan and soft coral community )
เป็นบริเวณที่ปะการังอ่อน กัลปังหา และ ปะการังแข็งขึ้นอยู่ประปนกัน มักจะอยู่บริเวณที่น้ำลึกตั้งแต่ 10-50 เมตร อาจเป็นเป็นโขดหินใต้น้ำ หรือบริเวณหัวแหลมที่มีกระแสน้ำไหลแรง

แหล่งกัลปังหา และปะการังอ่อน
ปะการังมีมากมายหลายชนิดกว่า 700 ชนิดทั่วโลก สำหรับประเทศไทยมีปะการังประมาณ 350 ชนิด ชนิดของปะการังที่พบได้ง่ายและควรรู้จักมีดังนี้
1. ปะการังปลายเข็ม Needle coral ( Stylophora pistillata )
  2. ปะการังเกล็ดคว่ำ  Hood coral  ( Stylophora pistillata )
  3. ปะการังดอกกระหล่ำ Cauliflower ( Pocillopora spp. )
  4. ปะการังกิ่งไม้เล็ก  Fine branched coral ( Anacropora spp. )

  5. ปะการังเขากวาง  Staghorn coral, Table coral ( Acropora spp. ) พบประมาณ 40 ชนิด
  6. ปะการังผิวเกล็ดน้ำแข็ง  Fine spined coral ( Montipora spp. )
  7. ปะการังโขด หรือประการังนิ้วมือ  Mountain coral, Finger coral ( Porites spp. )
  8. ปะการังผิวยู่ยี่ Wrinkle coral ( Synaraea rus )
  9. ปะการังดอกไม้ทะเล Anemone-like coral  ( Goniopora spp. )
10. ปะการังลายกลีบดอกไม้ Petal-like coral  ( Psammocora spp. )
11. ปะการังลายดอกไม้  Flower coral ( Pavona spp. )
12. ปะการังช่องหินอ่อน  Gardiner's coral ( Gardineroseris planulata )
13. ปะการังรังผึ้ง Honey comb coral ( Coeloseris mayeri )
14. ปะการังลายลูกฟูก  Serpent coral  ( Pachyseris spp. )
15. ปะการังดอกเห็ด  Mushroom coral  ( Fungia spp. )
16. ปะการังบูมเมอแรง  Boomerang coral ( Herpolitha limax )
17. ปะการังกาแล็กซี่  Galaxy coral  ( Galaxea spp. )
18. ปะการังแผ่นเปลวไฟ หรือ ประการังดอกจอก  Lettuce coral ( Pectinia spp. )
19. ปะการังเคลือบหนาม  Spiny encrusting coral ( Echinophyllia spp. )
20. ปะการังผักกาดหอม  Lettuce coral  ( Mycedium elephantotus )
21. ปะการังถ้วยหนาม  Spiny cup coral  ( Cynarina lacymalis )
22. ปะการังสมองร่องตื้น  Shallow groove brain coral ( Australomussa rowleyensis )
23. ปะการังสมองใหญ่  Large brain coral ( Symphyllia spp. )
24. ปะการังถ้วยสมอง หรือ กรวยสมอง  Lobed cup coral  ( Lobophyllia spp. )
25. ปะการังใบร่องหนาม  Spiny cabbage coral  ( Merulina ampliata )
26. ปะการังหนามขนุน  Jack fruit spined coral  ( Hydnophora spp. )
27. ปะการังวงแหวน  Ring coral  ( Favia spp. )
28. ปะการังช่องเหลี่ยม  Larger star coral  ( Favites spp. )
29. ปะการังรังผึ้ง  Honey comb coral  ( Goniastrea spp. )
30. ปะการังสมอง  Brain coral  ( Platygyra spp. )
31. ปะการังสมองร่องเล็ก  Brain coral  ( Leptoria phrygia )
32. ปะการังสมอง Brain coral  ( Oulophyllia crispa )
33. ปะการังดาวใหญ่  Double star coral  ( Fiploastrea heliopora )
34. ปะการังดาวเล็ก  Little star coral  ( Cyphastrea spp. )
35. ปะการังช่องหนาม  Spiny coral  ( Echinopora spp. )
36. ปะการังหนวดปม  Joker coral  ( Euphyllia glabrescens )
37. ปะการังหนวดถั่ว หรือ หนวดสมอ  Bean coral  ( Euphyllia ancora )
38. ปะการังลูกโปร่งใหญ่  Rounded bubblegum coral  ( Plerogyra sinuosa )
39. ปะการังลูกโปร่งเล็ก  Tipped  bubblegum coral  ( Physogyra lichtensteini )
40. ปะการังจาน  หรือ ประการังแจกัน  Disc coral, Vase coral  ( Turbinaria spp. )
41. ปะการังถ้วยสีส้ม  Orange cup coral  ( Tubastraea coccinea )
42. ปะการังกิ่งน้ำตาลเขียว  Tree coral  ( Dendrophyllia micranthus )
43. ปะการังไฟ และ ไฮดรอยด์  Fire coral and Hydroid  ( Hydrozoa )
44. ปะการังดำ  Black coral
45. โซแอนทิด  Zoanthid
46. ดอกไม้ทะเลที่คล้ายประการัง  Corallimorph
47. ดอกไม้ทะเล  Sea anemone  พบไม่น้อยกว่า 10 ชนิด
48. ปะการังอ่อน  Soft coral พบประมาณ 18 ชนิด
49. กัลปังหา  Sea fan พบประมาณ 19 ชนิด
50. ปะการังสีน้ำเงิน   Blue coral
51. ปากกาทะเล  Sea pen

ดูรุปเพื่มเติมจ้า
http://www.nemotour.com/knowledge/coral.htm

เกร็ดความรู้ สิ่งที่ ผู้ชายชอบให้ผู้หญิงทำ.....คุณเคยทำไหม???

เกร็ดความรู้ สิ่งที่ ผู้ชายชอบให้ผู้หญิงทำ

  1. ชอบ ผู้หญิงที่ให้เกียรติตน โดยเฉพาะต่อหน้าผู้อื่น (รู้สึกได้หน้าที่ผู้หญิงอยู่ใน control )
  2. ชอบ ผู้หญิงพูดจาหวานๆ ไพเราะ ยิ้มหวาน (รู้สึกเหมือนมีคนกำลังให้บริการไงจ๊ะ )
  3. ชอบ ผู้หญิงที่สดชื่นสดใส ร่าเริง มีอารมณ์ขันบ้าง (รู้สึกความเครียดที่โดนเจ้านายว่าหดหาย )
  4. ชอบ ผู้หญิงเอาอกเอาใจเก่งในทุกเรื่อง ( เขาจะได้รู้สึกเหมือนอาเสี่ยไง )
  5. ชอบ ผู้หญิงที่ทำให้เขารู้สึกสบายใจ อบอุ่น อยากอยู่ใกล้ ๆ (เป็นสิ่งที่เขาโหยหาตลอดเวลา แต่ไม่กล้าเปิดเผย )
  6. ชอบ ผู้หญิงแกล้งโง่ แต่เก่ง มีความรู้ ความสามารถ (เขาจะได้รู้สึกมีความภูมิใจเหลืออยู่บ้างไง )
  7. ชอบ ผู้หญิงงอนนิดๆ (เขาจะได้ง้อได้ไง แต่อย่าให้ง้อบ่อยจนเขาเบื่อล่ะ )
  8. ชอบ ผู้หญิงที่แต่งตัวดูเรียบร้อย แต่แฝงด้วยความเซ็กซี่ มีเสน่ห์ และโรแมนติก ( เพื่อนและคนใกล้ชิด ได้อิจฉาไง )
  9. ชอบ ผู้หญิงออเซาะเก่ง (คิดว่าเขาเป็นรัฐมนตรี ต้องออเซาะโครงการ ถึงจะได้รับการอนุมัติ )
 10. ชอบ ผู้หญิงไฟแรงสูง (พุ่งเป็นจรวดนำวิถีไงล่ะ … ระวังไฟช็อตนะจ๊ะ )

ลองทำตามคำแนะนำดูนะคะ :)

ขอขอบคุณข้อมูลสะกิด

✿*• เกร็ดความรู้ ข้อคิดดีๆ สำหรับคู่รัก •*✿

สะกิด มีข้อคิดดีๆ สำหรับคนรักกัน มาฝาก ลองอ่านดูนะคะ

  1. จริงใจแต่ไม่จริงจัง มีความจริงใจต่อกัน ซื่อสัตย์ต่อกัน แต่เราไม่คิดจริงจังในการมีชีวิตคู่ เพราะเราถือว่าอนาคตเป็นสิ่งไม่แน่นอน

  2. พูดคุยกันทุกเรื่อง การได้พูดคุยกันทำให้คนสองคนมีความเข้าใจกันมากขึ้น

  3. การเชื่อใจและไว้ใจกัน เราต้องทำใจให้เชื่อใจอีกฝ่ายให้ได้ และต้องทำตัวเองให้เข้าไว้ใจด้วย

  4. การรู้จักปรับตัวเขาหากันคนละครึ่งทาง การเปิดใจกว้างยอมรับในความเป็นตัวเขา และให้เขารับในความเป็นเรา

  5. การทำตัวให้รู้จักกาลเทศะ คือการที่เราต้องรู้ว่าอะไรควรทำ อะไรควรพูด ตอนไหน

  6. ควรพูดให้ติดปากคำเหล่านี้ ขอโทษ ขอบคุณ ให้อภัย พูดขอโทษเมื่อเรารู้ว่าผิด พูดขอบคุณเมื่อเขาทำอะไรให้เรา พูดให้อภัยในสิ่งที่เขาผิด คำพูดเหล่านี้แหละ เป็นคำพูดที่เชื่อมเราทั้งคู่

  7. รู้จักระงับอารมณ์ ทั้งความโมโห และความขำขัน

  8. แลกเปลี่ยนประสบการณ์ การคุยกันเล่าเรื่องต่างของกันและกัน ให้อีกฝ่ายรับรู้ ทำให้เขาและเราต่างรู้จักกันดี และสามารถรู้ ความเป็นมาเป็นไปของกันและกันได้ดีอีกด้วย

  9. อย่าโกหก ทุกเรื่อง ถ้าเราทำผิดไปให้บอกเขาตรง ๆ ถ้ายังรักเขาอยู่ การโกหกไม่ใช่สิ่งดี หันหน้าบอกกับเขาอย่างเปิดเผย

 10. การเป็นทุกอย่างให้กันและกัน การที่เราเป็นแฟนกันไม่ จำเป็นต้องหวานชื่นเสมอ เราต้องสามารถเป็๋นเพื่อนเขาได้ เป็นพี่ เป็นน้อง หรือแม้แต่เป็นพ่อแม่เขาก็ต้องเป็น เพราะเชื่อว่าบางคนไม่สามารถ คุยกับพ่อแม่ได้ทุกเรื่อง ฉะนั้นเรานี้แหละในฐานะแฟนต้องช่วยเขา

การสังเกต คนรักในเรื่องเล็กๆน้อยๆ จะทำให้เราเข้าใจเค้ามากขึ้นนะคะ

ความรู้ที่ดับทุกข์ได้

 
 
องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้พบความจริงของโลกและชีวิต อันได้แก่ ธรรมชาติทั้งหลาย มีการเกิดดับเป็นธรรมดา เกิดขึ้นมาเพราะเหตุปัจจัย มาประชุมกันชั่วคราว และต้องแตกสลายในที่สุด ไม่มีอะไรเกิดขึ้นมาลอยๆ ไม่มีอะไรยืนยงถาวร เป็นสภาวะที่ไม่สามารถควบคุมหรือบังคับบัญชาได้ เมื่อท่านรู้เห็นอย่างนี้แล้ว ท่านจึงนำความรู้นี้ไปศึกษาเรื่องการเกิด แก่ เจ็บ ตาย จนพบอริยสัจสี่ คือ ความจริงอันประเสริฐ ๔ ประการ เบื้องหลังการเวียนว่ายตายเกิด และการปฏิบัติเพื่อดับชาติดับภพ

สิ่ง ที่ทำให้คนเราเวียนว่ายตายเกิดนับภพนับชาติไม่ถ้วนนั้นเรียกเป็นภาษาธรรมว่า “อวิชชา” ซึ่งได้แก่ ความไม่รู้จักธรรมชาติตามสภาวะที่มันเป็นจริง จึงได้เกิดการคิดปรุงแต่งไปต่างๆ นาๆ เกิดการหลงไปกับความคิด เกิดการยึดมั่นถือมั่น กลายมาเป็นทุกข์ ในที่สุด

ความจริงของทุกข์ แบ่งได้เป็น ๒ ประการ คือ ทุกข์ที่เกิดตามธรรมชาติ คือ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ไม่มีใครหนีพ้น สิ่งที่ทำให้เกิดทุกข์ตามธรรมชาตินี้ ก็คือ ทุกข์ที่เราสร้างขึ้นมาเอง ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และทางใจ ได้แก่ ความพอใจ ไม่พอใจ หลงไปตามความพอใจไม่พอใจนั้น เมื่อตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นรับรส กายสัมผัส ในคิดนึก นอกจากนั้นไม่มีทุกข์เกิด

ความพอใจ ในภาษาธรรมก็คือ “โลภะ” ความไม่พอใจก็คือ “โทสะ” การหลงไปตามความพอใจไม่พอใจก็คือ “โมหะ” รวมเรียกว่า “อวิชชา” หรือ เหตุของอกุศล เหตุของทุกข์ทั้งปวง

ที่มัน เกิดเป็นทุกข์ ก็เพราะความคิดปรุงแต่งที่เกิดขึ้นเมื่อเรารับกระทบสัมผัสทั้ง ๖ ทาง คือทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และทางใจ โดยมี “อวิชชาสวะ” ที่สะสมในจิตใจเรามาข้ามชาติข้ามภพเป็นตัวคอยบงการอยู่เบื้องหลัง ปุถุชนทั่วไปจึงไม่สามารถต้านทานได้โดยง่าย เพราะแท้จริงแล้ว คนเราสั่งตัวเองไม่ได้ ความเคยชินหรือความรู้ความจำที่สะสมมาข้ามชาติข้ามภพเป็นตัวสั่ง หรือเรียกว่า “นิสัย” นั่นเอง

นิสัย เกิดจากการสะสมความรู้ประสบการณ์ที่เกิดขึ้นทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และทางใจ ตลอดชีวิต รวมไปถึงชาติภพก่อนๆ เป็นอันมาก เมื่อเรารู้เห็นอะไรแล้วคิดปรุงแต่ง สิ่งนั้นจะถูกเก็บไว้ในความทรงจำ เรียกว่าการเกิดของ “อวิชชาใหม่” และจะกลับมาเป็นข้อมูลที่สั่งให้เราเกิดพฤติกรรมทางทาย วาจา ใจ เมื่อเราเกิดความพอใจ ไม่พอใจ หลงไปกับความพอใจไม่พอใจ ข้อมูลเหล่านี้ ก็จะเก็บสะสมมากเข้าจนก่อตัวเป็นนิสัย ข้อมูลไหนมีมาก มีซ้ำๆ ซากๆ จำนวนมาก ข้อมูลนั้นก็จะมีอิทธิพลต่อความคิดของคนเรามาก หรือเรียกว่า เกิดเป็นอินทรีย์ แสดงความเป็นใหญ่ในหน้าที่ได้ ข้อมูลในจิตแบบนี้นี่เองที่เป็นเบื้องหลังของลักษณะเฉพาะของบุคคล

จะ เห็นได้ว่า ปุถุชน จะเอา “อวิชชาเก่า” ไปสร้าง “อวิชชาใหม่” อยู่ตลอดเวลา หรือเอาทุกข์ไปสร้างทุกข์ อวิชชาก็หนาแน่นมั่นคงอยู่ในจิตใจ จนไม่สามารถต้านทานมันได้โดยง่าย

อวิชชาที่สะสมในจิตใจนั้น เราเอาออกไม่ได้ แต่เราหยุดการเกิดของอวิชชาใหม่ได้ คือ ต้องไปขัดขวางกระบวนการคิดปรุงแต่ง สิ่งที่จะเอาไปดับการเกิดของอวิชชา คือ ความจริง เพราะการหลงไปกับสิ่งที่เข้ามากระทบสัมผัสเป็นเพียงความคิดเห็น ความจริงที่เอาไปดับความเห็นได้ คือ กฎธรรมชาติ ๑ กฎที่พระพุทธองค์ตรัสรู้ ได้แก่ กฎไตรลักษณ์ และ กฎอิททัปปัจจนายตาปกิจสมุปบาท สรุปเป็นคำๆ เดียวว่า “ไม่เที่ยง”
ต่อท้าย #1 12 ต.ค. 2553, 18:46:48
“ไม่เที่ยง” ก็คือ ธรรมชาติทั้งหลาย มีการเกิดดับเป็นธรรมดา เกิดขึ้นมาเพราะเหตุปัจจัย มาประชุมกันชั่วคราว และต้องแตกสลายในที่สุด ไม่มีอะไรเกิดขึ้นมาลอยๆ ไม่มีอะไรยืนยงถาวร เป็นสภาวะที่ไม่สามารถควบคุมหรือบังคับบัญชาได้

เมื่อตาเห็นรูป ให้พิจารณารูปนั้นด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า รูปที่เห็นนี้ไม่เที่ยง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ต้องดับไป ตัวเราคนเห็นก็ไม่เที่ยง หนุ่ม แก่ เจ็บ แล้วก็ต้องตาย

เมื่อหูได้ยินเสียง ให้พิจารณาเสียงนั้นด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า เสียงที่ได้ยินนี้ไม่เที่ยง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ต้องดับไป ตัวเราก็ไม่เที่ยง หนุ่ม แก่ เจ็บ แล้วก็ต้องตาย

เมื่อจมูกได้กลิ่น ให้พิจารณากลิ่นนั้นด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า กลิ่นนี้ไม่เที่ยง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ต้องดับไป ตัวเราก็ไม่เที่ยง หนุ่ม แก่ เจ็บ แล้วก็ต้องตาย

เมื่อ ลิ้นรับรส ให้พิจารณารสนั้นด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า รสนี้ไม่เที่ยง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ต้องดับไป ตัวเราคนก็ไม่เที่ยง หนุ่ม แก่ เจ็บ แล้วก็ต้องตาย

เมื่อกายสัมผัส ให้พิจารณาสัมผัสนั้นด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า สัมผัสนี้ไม่เที่ยง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ต้องดับไป ตัวเราก็ไม่เที่ยง หนุ่ม แก่ เจ็บ แล้วก็ต้องตาย

เมื่อใจคิดนึก ให้พิจารณาความคิดนั้นด้วยปัญญาอันชอบอย่างนี้ว่า ความคิดนี้ไม่เที่ยง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ต้องดับไป ตัวเราก็ไม่เที่ยง หนุ่ม แก่ เจ็บ แล้วก็ต้องตาย

ถ้าเราสามารถพิจารณาได้อย่างนี้ เรียกว่า เอาปัญญาสัมมาทิฐิไปตั้งรับไว้ที่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ความจริงที่ยกเอามาพิจารณาจะหยุดการคิดปรุงแต่ง เมื่อไม่เกิดการคิดปรุงแต่ง อวิชชาใหม่ก็ไม่เกิด จิตจะเก็บความจริงไว้ในจิตแทน ความจริงนี้ภาษาธรรมเรียกว่า “วิชชา” แปลว่า เราเอาวิชชาไปดับอวิชชา หรือ เอาความจริงไปดับความเห็น หรือ เอาปัญญาไปดับทุกข์ ดับทันที่ที่มันเกิด ทุกข์เกิดที่ไหนเราดับมันที่นั่น

เมื่อวิชชาเกิดสะสมในจิตมากขึ้น มันก็จะเกิดความเป็นใหญ่ในหน้าที่ หรือเกิดเป็น “ปัญญินทรีย์” เริ่มส่งผลต่อความนึกคิดของเรา หรือกลายเป็นนิสัยใหม่ของเรา จึงอุปมาการปฏิบัติธรรมว่า เหมือนเอาน้ำจืดเติมลงไปในน้ำเกลือ ให้ความเค็มลดลงจนหายไปในที่สุด คำว่าเกลือคืออวิชชาเก่าที่สะสมอยู่ในจิต คำว่าน้ำจืดคือวิชชาที่เราสร้างขึ้นมาใหม่ นั่นเอง

ถ้าเราทำอย่างนี้ เป็นประจำ ทำให้ครบทั้ง ๖ ทาง ด้วยความเพียร จนความจริงสะสมไว้ในใจเรามากๆ จะส่งผลให้เราสามารถดับทุกข์ได้ถาวร พบมรรคผลนิพพาน ตามที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า ภายใน ๗ สัน ๗ เดือน ๗ ปี ถ้าไม่ได้ทำอนันตริยกรรมมาก่อน ก็คือผู้ที่กำลังเดินอยู่ในทางอันประเสริฐ เพื่อดับชาติดับภพ เป็นที่สุด…
ต่อท้าย #2 25 ต.ค. 2553, 15:23:52
ตอบคุณ manuel (ผู้ใช้ใหม่): การปฏิบัติธรรม การบรรลุธรรม จะต้องเป็นไปเป็นขั้นเป็นตอน จะลัดขั้นตอนนั้นเป็นไปไม่ได้เลย เพราะมันไม่ถูกตามเหตุปัจจัย การปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ แบ่งได้เป็น ๒ ระดับ คือ มรรคเบื้องล่าง (หรือ โสดาปัตติมรรค) และ มรรคเบื้องสูง (หรือ อรหันตมรรค) โสดาปัตติมรรคปหานกิเลสอย่างหยาบก่อน อรหันตมรรคจะปหานกิเกลสอย่างกลางอย่างละเอียด

ตามธรรมวินัย พระพุทธองค์ให้เจริญวิปัสสนา พิจารณาขันธ์ ๕ อินทรีย์ ๖ ก่อน สำหรับพระท่านเรียกว่าการฝึกคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย เมื่อฝึกจนตั้งอยู่ที่โสดาปัตติผล ท่านจึงให้เจริญสติปฐานต่อ เพื่อบรรลุอรหันตผล คำว่า "ทางนี้เป็นทางอันเอกเพื่อล่วงโสกะปริวาทะ ฯลฯ" ในมหาสติปฐานสูตร หมายถึง "อรหันตผล" ไม่ใช่โสดาปัตติผล และท้ายสติปฐานสูตร พระพุทธองค์ตรัสผลของการเจริญสติปฐานไว้ว่า มี ๒ ประการคือ อรหันตผล หรือ อนาคามีผล ไม่ใช่โสดาปัตติผล

ในพระวินัยแสดงสภาวะสติปฐานว่าเป็น อุตริมนุธรรม คือ เป็นสภาวะที่ไม่มีในปุถุชน ถ้าเป็นภิกษุ ไม่มีสติปัฏฐาน บอกว่ามี ก็ต้องอาบัตปราชิก

องค์ธรรมในโพธิปักฯ คือธรรมที่เป็นโลกุตตระ มรรค ๘ เป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดสติปัฏฐาน การสร้างองค์ธรรมในมรรค ๘ ท่านให้เริ่มที่การฝึกเพื่อสร้างสัมมาทิฏฐิที่เป็นอนาสวะนับเนื่องในองค์ มรรคก่อนเป้นอันดับแรก หรือ การฝึกเพื่อสร้างปัญญามาดับทุกข์ ปัญญาสัมมาทิฏฐิได้มาจากการฝึก ไม่ได้เกิดขึ้นมาลอยๆ

หลายๆ จุดในพระสูตร พระพุทธองค์ตรัสว่า ภิกษุปกติเห็น กาย เวทนา จิต ธรรม ว่าไม่เที่ยง ฯ นั้นท่านหมายถึง พระอริยะที่ตั้งอยู่อย่างน้อยโสดาปัตติผล พระอริยะข้ามความเห็นไปแล้ว จึงเห็นความจริงในธรรมทั้งหลายตามความเป็นจริงว่าไม่เที่ยงเป็นปกตินิสัย

ปุถุชน ไปเจริญตามมหาสติปฐานสูตร จะเป็นการบังคับเอาจิตไปติดตามอาการหรืออริยาบทเท่านั้น เป็นเพียงการติดตามอารมณ์ ผลที่ได้ก็คือ มิจฉาสมาธิ ไม่ทำให้เกิดปัญญาขึ้นมาได้ ... บ้างปฏิบัติจนได้อัปนาสมาธิ มีฤทธิ์เห็นโน่นเห็นนี่ หรือโดนเทวปุตมารครอบไม่รู้ตัว เข้าใจว่าตนเองบรรลุธรรมขั้นสูงก็มี

ความผิดพลาดที่มีการนำการ ปฏิบัติในมหาสติปฐานมาปฏิบัติกันในวงกว้าง ทั้งพระทั้งฆราวาส เพราะไม่ได้ศึกษาธรรมวินัยให้ถ้วนถี่ เห็นพระสูตรบอกว่า "ดูกรภิกษุ" พระบวชใหม่ก็คิดว่า ฉันก็บวชเป็นพระนะ น่าจะนำมาปฏิบัติได้ ท่านลืมนึกไปว่า ท่านยังเป็นสมมุติสงฆ์ ไม่ใช่อริยะสงฆ์ ไปเอาการปฏิบัติของพระอริยะมาปฏิบัติ ท่านก็เลยไม่ได้อะไรเลย ยังมีการนำมาสอนฆราวาส เพราะเห็นว่า ฉันทำได้ ฆราวาสก็น่าจะทำได้ เปิดเป็นสำนักวิปัสสนามากมายทั่วโลก ไม่มีใครเอะไจสะดุดใจกันบ้างเลยว่าผิด พากันหลงไปค่อนโลก ...
ต่อท้าย #3 26 ต.ค. 2553, 11:08:05
ตอบคุณ manuel: ธรรมมะ หรือ ธรรมชาติ เป็นเรื่องที่เป็นไปตามเหตุปัจจัย คิดเองไม่ได้ เกิดเองไม่ได้ ฯ ลองนึกถึงสูตรเคมี ถ้าผิดสูตร ผิดส่วนผสม ผิดขั้นตอน ผลก็ไม่ได้ตามต้องการ ฉะนั้นเหมือนกัน

ความสงบสุขที่ท่าน ได้จากการทำจิตให้ว่างชั่วคราว ด้วยการไปติดตามอริยาบท หรือติดตามอาการใดๆ ก็ดี เป็นเพียงการหลบกระทบสัมผัส ทำไม่รู้ไม่ชี้ เฉใฉไปสนใจเรื่องอื่น โดยการไปจดจ้องอยู่กับอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งเท่านั้น ความสงบแบบนี้ ยังไม่สุขไม่ปราณีตเท่ากับการรู้เห็นความจริงด้วยปัญญา เมื่อปัญญาตั้งมั่น เราไม่ต้องไปหลบอะไร ไม่ต้องไปกลัวอะไร รู้ก็แค่รู้ เห็นก็แค่เห็น ฯ ไม่ปรุงแต่ง เราจึงจะอยู่กับโลกได้อย่างมีความสุข ไม่ต้องหนีโลกไปใหน แค่รู้ให้ได้ว่า สิ่งทั้งปวงนั้นไม่เที่ยงฯ

ความผิดพลาดของชาวพุทธ คือ ไปถือเอาคำเขาว่า รับรู้ต่อๆ กันมา ไม่ได้เรียนรู้ศึกษาคำสอนที่ถูกต้องครบถ้วนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจริงๆ ไปสรุปเอาเองว่า สิ่งที่ได้ยินได้ฟังมาต้องมาจากพระพุทธเจ้าแน่นอน เมื่อมาปฏิบัติ ก็พบว่า มันยากเย็นแสนเข็ญ ไม่เห็นว่าจะเป็นทางสายกลางอย่างที่เคยได้ยิน ไม่พบทางสว่างสักที แต่ก็ยังดันทุรังทำต่อ สุดท้ายก็ไปสรุปว่า มรรคนั้นยาก ... กลายเป็นว่าพากันไปเป็นสาวกของศาสนาพราหมณ์ไม่รู้เนื้อรู้ตัว นุ่งขาวห่มขาวไปอยู่ตามวัดตามป่า หนีสังคม หนีโลก ฯ ใครมาแตะก็โกรธ เพราะไม่ได้ฝึกเพื่อดับโกรธตามทางที่พระพุทธองค์สอน เป็นเพียงการฝึกตัวเองเพื่อหลบทุกข์อยู่หลังความสงบเท่านั้น

คำสอน ของพระพุทธองค์มาจากการตรัสรู้ รู้เห็นอย่างไรก็นำมาแสดงอย่างนั้น เราได้แต่เรียนรู้เพื่อเข้าใจและปฏิบัติตามเท่านั้น เพราะเรายังไม่รู้ไม่เห็นเหมือนพระพุทธองค์

ถ้าท่านต้องการมี สติปัฏฐาน ท่านต้องไปทำที่เหตุของการเกิดสติปัฏฐาน ไม่ใช่เอาการพิจารณากายในกาย เวทนาในเวทนา จิตในจิต ธรรมในธรรม มาปฏิบัติ เพราะมันเป็นวิสัยของอริยะบุคคล ไม่ใช่วิสัยของปุถุชน

สติปัฏฐาน แปลง่ายๆ ว่า เห็นอะไรๆ ก็ไม่เที่ยง เหตุของสติปัฏฐานคือ องค์ธรรมหรือสภาวะในอริยมรรคมีองค์ ๘ เหตุของการเกิดมรรค ๘ คือ การสะสม วิชชา หรือความจริงไว้ในจิตใจมากๆ ซึ่งได้มาจากการพิจารณาขันธ์ ๕ อินทรีย์ ๖ เป็นประจำในชีวิตประจำวัน ต้องพยายามที่จะพิจารณาสิ่งที่เข้ามากระทบสัมผัสให้ได้ อย่างน้อยวันละประมาณ ๑ ชั่วโมงติดๆ กันทุกๆ วัน ความจริง หรือ ปัญญา จึงจะตั้งมั่น เมื่อปัญญาตั้งมั่นแล้ว สัมมาทิฏฐิที่เป็นองค์แห่งมรรคก็จะเกิดถาวรกับคุณ องค์ธรรมอื่นในมรรคจะเกิดกับคุณเอง นี่เป็นวิธีสร้างปัญญาที่ถูกต้องตามธรรมวินัย

เมื่อความจริงตั้งมั่น ความเห็นก็บริบูรณ์ สุจริต ๓ ก็จะเกิดขึ้นมั่นคง จิตใจก็ไม่ว้าวุ่นฟุ้งซ่าน หรือสงบเป็นสมาธิ เพราะเห็นอะไรๆ ก็ไม่เที่ยง ...
ต่อท้าย #4 25 พ.ย. 2553, 12:50:48
บุคคลผู้มนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง มากด้วยความน้อมใจไป ย่อมได้สัทธินทรีย์ ผู้มนสิการโดยความเป็นทุกข์ มากด้วยความสงบ ย่อมได้สมาธินทรีย์ ผู้มนสิการโดยความเป็นอนัตตา มากด้วยความรู้ ย่อมได้ปัญญินทรีย์ ฯ

เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง  เพราะสัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลพึงเป็นสัทธาธิมุต เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตาสัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะสัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นสัทธาธิมุตบุคคล ๓ จำพวกนี้ เป็นสัทธาธิมุตด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์อย่างนี้

เมื่อมนสิการโดย ความเป็นทุกข์ สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะสมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นกายสักขี เมื่อมนสิการโดยความเป็นอนัตตา สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง ... เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยงสมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะสมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นกายสักขีบุคคล ๓ จำพวกนี้ เป็นกายสักขีด้วยสามารถแห่งสมาธินทรีย์อย่านี้ ฯ

เมื่อมนสิการโดย ความเป็นอนัตตา ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นทิฐิปัตตะ เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง...เมื่อมนสิการโดยความเป็นทุกข์ ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงเป็นทิฐิปัตตะ

เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง สัทธินทรีย์มี ประมาณยิ่ง เพราะสัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงได้โสดาปัตติมรรค เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เป็นสัทธานุสารี

ก็ บุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งได้โสดาปัตติมรรคด้วยสามารถแห่งสัทธินทรีย์ บุคคลทั้งหมดนั้นเป็นสัทธานุสารีบุคคล เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่งเพราะสัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงทำให้แจ้งโสดาปัตติผล เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เป็นสัทธาธิมุตบุคคล

เมื่อมนสิการโดยความเป็นสภาพไม่เที่ยง สัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะสัทธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงได้สกทาคามิมรรค ฯลฯทำให้แจ้งสกทาคามิผล ได้อนาคามิมรรคทำให้แจ้งอนาคามิผล ได้อรหัตมรรคทำให้แจ้งอรหัตผล เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เป็นสัทธาธิมุตบุคคล

เมื่อมนสิการโดย ความเป็นทุกข์ สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะสมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงได้โสดาปัตติมรรค เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เป็นกายสักขีบุคคล

เมื่อ มนสิการโดยความเป็นทุกข์สมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะสมาธินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงทำให้แจ้งโสดาปัตติผล ฯลฯ ได้สกทาคามิมรรค ทำให้แจ้งสกทาคามิผล ได้อนาคามิมรรคทำให้แจ้งอนาคามิผล ได้อรหัตมรรค ทำให้แจ้งอรหัตผล เพราะเหตุนั้นจึงกล่าวว่าเป็นกายสักขีบุคคล

มื่อ มนสิการโดยความเป็นอนัตตา ปัญญินทรีย์ มีประมาณยิ่ง เพราะปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงได้โสดาปัตติมรรค เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เป็นธรรมานุสารีบุคคล

เมื่อมนสิการโดย ความเป็นอนัตตา ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง บุคคลจึงทำให้แจ้งโสดาปัตติผลเพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เป็น
ทิฐิปัตตบุคคล

เมื่อ มนสิการโดยความเป็นอนัตตา ปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่ง เพราะปัญญินทรีย์มีประมาณยิ่งบุคคลจึงได้สกทาคามิมรรค ฯลฯ ทำให้แจ้งสกทาคามิผล ได้อนาคามิมรรคทำให้แจ้งอนาคามิผล ได้อรหัตมรรค ทำให้แจ้งอรหัตผล เพราะเหตุนั้นท่านจึงกล่าวว่า เป็นทิฐิปัตตบุคคล
ต่อท้าย #5 25 พ.ย. 2553, 12:54:11
ตอบคุณ whatami.net: อริยบุุคลมี ๓ ประเภท ตามที่ผมได้คัดลอกบางส่วนของพระไตรปิฏกมาให้ดู ท่านจะวิปัสสนาโดยความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ หรือความไม่มีตัวตนก็ได้ ท่านจะสำเร็จเป็นอริยบุคคลประเภทใดก็ได้ เพราะฉะนั้น ที่ท่านด่วนสรุปว่า ต้องเข้าใจเรื่องอนัตตาเพียงอย่างเดียว จึงเป็นเรื่องที่ยังไม่ถูกต้องครบถ้วน

ความรู้เรื่อง การใช้สบู่อาบน้ำ

ประเทศไทยเป็นเมืองร้อนหลายคนอาบน้ำวันละมากกว่า 1 ครั้ง สมัยก่อนมีสบู่ก้อนแต่เพียงอย่างเดียว สมัยนี้มีสบู่นานาชนิด มีปัญหาที่ต้องถามกันว่า สบู่เหล่านี้มีดีมากดีน้อย เปรียบเทียบกันอย่างไร

ความรู้จากวารสารสนองโอฐสภากาชาดไทย ISSN 0125-5851 ให้ความรู้ในเรื่องนี้ไว้ดังนี้

การ อาบน้ำทำความสะอาดผิวหนังเป็นกิจวัตรที่ทุกคนชื่นชอบ เพราะนอกจากจะช่วยขจัดคราบสกปรกของเหงื่อไคล ไขมันเคลือบผิว เชื้อจุลชีพและฝุ่นที่เกาะหนังขี้ไคล การอาบล้างผิวยังช่วยผ่อนคลายความร้อนและความเครียดได้อีกด้วย หลายคนมีความสุขกับการอาบน้ำ บางคนตกแต่งห้องน้ำอย่างหรูหรา สวยงาม และใช้เวลาในการอาบน้ำนานเป็นพิเศษ

จริง ๆ แล้วธรรมชาติของผิวหนังจะมีขบวนการทำความสะอาดแบบอัตโนมัติ โดยการผลัดหนังขี้ไคลออกตลอดเวลา การหลุดร่วงของหนังขี้ไคลจะช่วยกำจัดคราบสกปรกไปในตัว ถ้าเป็นผิวแห้งลื่นคราบสกปรกก็ไม่เกาะติด แต่เนื่องจากผิวมีความมัน อีกทั้งยังมีการใช้เครื่องสำอางซึ่งช่วยส่งเสริมให้คราบฝุ่นละออง เขม่าควันที่อยู่ในบรรยากาศภายนอกเกาะผิวแน่นขึ้นไปอีกจึงจำเป็นต้องมีการ ชำระล้างออก เพื่อการมีผิวพรรณที่สดใสสะอาดของเรา และผลิตภัณฑ์เพื่อการทำความสะอาดผิวหนังส่วนใหญ่ก็เป็นเครื่องสำอางที่มี มูลค่าสูง มีการพัฒนาสูตรต่าง ๆ ให้ถูกใจผู้บริโภคอยู่ตลอดเวลา มีการโฆษณาลักษณะความแตกต่างของผลิตภัณฑ์ และนิยมใช้ผู้มีชื่อเสียง บุคลิกดี ผิวสวยเป็นผู้แนะนำสินค้าเพื่อแย่งชิงผู้บริโภค

ฉะนั้น ก่อนจะใช้ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวเรามาดูกันก่อนดีกว่าว่าจะใช้ผลิตภัณฑ์ อะไรจึงจะเหมาะสมกับสภาพผิว มีหลากหลายคำถามเกิดขึ้นเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่ใช้ทำความสะอาดผิว เช่น

สบู่ก้อนต่างกับสบู่เหลวหรือโฟมอย่างไร

สบู่ ก้อนแบบดั้งเดิม (Soap) ทำจากไขสัตว์หรือไขพืช ทำปฏิกิริยากับด่าง จึงมีฤทธิ์ เป็นด่าง หลายคนอาจเกรงว่าสบู่ก้อนจะระคายผิว ในปัจจุบันสบู่ก้อนอาจได้จากสารสังเคราะห์ (syndet) ซึ่งจะมีความเป็นด่างน้อยลง เดิมจากความเป็นด่าง pH 10-11 เป็น pH 8-9 แต่ ราคาสบู่สังเคราะห์จะแพงกว่า จากการศึกษาพบว่าทั้ง 2 แบบทำให้เกิดความระคายเคืองเท่ากัน

สบู่เหลวเป็นสารสังเคราะห์ ลดแรงตึงผิว (surfactant) จะมี 2 แบบ คือ ลดแรงตึงผิวชนิดประจุลบ (anionic surfactant) เช่น sodium lauryl ether sulfate ซึ่งนิยมใช้ในสบู่เหลวและแชมพูเกือบทุกชนิด และชนิดประจุผสม (amphoteric herfactant) เช่น สาร betaine ซึ่งจะไม่ระคายเยื่อบุผสม อยู่ในสบู่เหลว หรือแชมพูเหลวสำหรับเด็ก สารจะมีฟองน้อยกว่าและราคาแพงกว่า สบู่เหลวมีความเป็นกรดด่างเกือบจะเท่ากับผิวหนัง คือประมาณ pH 5-6

การ ใช้สบู่ก้อนหรือสบู่เหลวจะชำระล้างคราบสกปรกได้เท่ากัน อาจระคายเคืองผิวได้เหมือนกัน แต่สบู่เหลวอาจทำให้ผิวแห้งเพราะสบู่สัมผัสคราบได้ดีกว่า จึงมีการพัฒนาเป็นโฟม (wash off foam) คือ สบู่เหลวผสมครีมเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น ดังนั้นท่านสามารถเลือกใช้ตามความชอบได้ แต่ราคาสบู่ก้อนจะถูกกว่า

สบู่ก้อนต่างกับสบู่เหลวหรือโฟมอย่างไร

สบู่ก้อนแบบดั้งเดิม (Soap) ทำจากไขสัตว์หรือไขพืช ทำปฏิกิริยากับด่าง จึงมีฤทธิ์ เป็นด่าง หลายคนอาจเกรงว่าสบู่ก้อนจะระคายผิว ในปัจจุบันสบู่ก้อนอาจได้จากสารสังเคราะห์ (syndet) ซึ่งจะมีความเป็นด่างน้อยลง เดิมจากความเป็นด่าง pH 10-11 เป็น pH 8-9 แต่ ราคาสบู่สังเคราะห์จะแพงกว่า จากการศึกษาพบว่าทั้ง 2 แบบทำให้เกิดความระคายเคืองเท่ากัน

สบู่เหลวเป็นสารสังเคราะห์ ลดแรงตึงผิว (surfactant) จะมี 2 แบบ คือ ลดแรงตึงผิวชนิดประจุลบ (anionic surfactant) เช่น sodium lauryl ether sulfate ซึ่งนิยมใช้ในสบู่เหลวและแชมพูเกือบทุกชนิด และชนิดประจุผสม (amphoteric herfactant) เช่น สาร betaine ซึ่งจะไม่ระคายเยื่อบุผสม อยู่ในสบู่เหลว หรือแชมพูเหลวสำหรับเด็ก สารจะมีฟองน้อยกว่าและราคาแพงกว่า สบู่เหลวมีความเป็นกรดด่างเกือบจะเท่ากับผิวหนัง คือประมาณ pH 5-6

การ ใช้สบู่ก้อนหรือสบู่เหลวจะชำระล้างคราบสกปรกได้เท่ากัน อาจระคายเคืองผิวได้เหมือนกัน แต่สบู่เหลวอาจทำให้ผิวแห้งเพราะสบู่สัมผัสคราบได้ดีกว่า จึงมีการพัฒนาเป็นโฟม (wash off foam) คือ สบู่เหลวผสมครีมเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้น ดังนั้นท่านสามารถเลือกใช้ตามความชอบได้ แต่ราคาสบู่ก้อนจะถูกกว่า
ต่อท้าย #2 23 มี.ค. 2554, 15:08:42
สบู่ไร้ฟองจะทำความสะอาดผิวได้ดีกว่าใช่หรือไม่

ฟองจากสบู่เป็นผล พลอยได้เมื่อเราใช้สบู่ ผู้ผลิตจึงพยายามผลิตสบู่ให้มีฟองมาก ๆ โดยเติมสารเพิ่มฟอง แต่ทฤษฎีฟองกลับขัดขวางการขจัดคราบสกปรก โดยหลักการชำระล้างควรล้างเฉพาะคราบสกปรกออก และเหลือน้ำมันหล่อเลี้ยงผิวให้พอเหมาะ ในสบู่ไร้ฟองเมื่อล้างจนหมดคงทำให้ผิวแห้งเกินไป ในหลายผลิต ภัณฑ์อาจเติมความชุ่มชื้น (moisturizer) ซึ่งก็ไม่เหมือนน้ำมันหล่อเลี้ยงผิวตามธรรมชาติ บางชนิดก่อให้เกิดการแพ้หรืออุดตันรูขุมขนได้ ดังนั้นสบู่มีฟองก็ดีเท่ากับสบู่ไร้ฟอง แถมราคาถูกกว่าด้วย

สบู่ที่มีความเป็นด่างจะระคายเคืองต่อผิวหนังใช่หรือไม่

สบู่ ก้อนจะมีฤทธิ์เป็นด่าง ส่วนสบู่เหลวหรือโฟมจะมีความเป็นกรดด่างเท่ากับผิวหนัง ความจริงแล้วผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหนังจะสัมผัสกับผิวหนังของเราในระยะ สั้น ๆ เมื่อล้างออกแล้วความเป็นด่างของผิวก็จะกลับคืนสู่ภาวะปกติภายใน 30 นาที ฉะนั้นถ้าผิวหนังเราปกติ ไม่มีบาดแผล ความเป็นกรดด่างของสบู่ก็ไม่ทำให้เกิดการระคายเคืองได้ มีหลายคนชอบใช้สบู่ฤทธิ์กรด เพราะเข้าใจว่าจะช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ ในผิวปกติจริง ๆ แล้วมีเชื้อแบคทีเรียซึ่งทำหน้าที่เป็นเกราะป้องกันเชื้ออื่น ๆ จึงไม่ควรใช้สบู่ฤทธิ์กรดเพราะมักจะระคายผิว

สบู่ซึ่งผสมสารฆ่าเชื้อจุลชีพจะช่วยให้ผิว สะอาดกว่าจริงหรือไม่

เนื่อง จากผิวหนังมีเชื้อจุลชีพอาศัยอยู่หลายชนิดอย่างสมดุลทั้งเชื้อแบคทีเรียและ เชื้อรา ในภาวะปกติเชื้อเหล่านี้จะทำหน้าที่ป้องกันเชื้อร้ายแบบอื่น ๆ และสร้างสารซึ่งมีฤทธิ์ต่อต้านเชื้อโรคที่มีอันตรายในสภาพผิวปกติการใช้สาร ฆ่าเชื้อจึงอาจทำให้ร่างกายเกิดการบกพร่องของความสมดุล สบู่ฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่นิยมใช้กันจะผสมไตรโคซาน (trichosan) อาจใช้ได้ในผิวที่เกิดผื่นคัน ซึ่งมีการเติบโตของเชื้อแบคทีเรียผิดปกติ แต่ควรใช้ในระยะสั้นตามคำแนะนำของแพทย์ ส่วนชนิดที่ผสมสารฆ่าเชื้อรา เช่น คีตาโคนาโซน (ketaconazone) และ ซินส์ ไพริไทออน (Zinc pyrithione) มักผสมอยู่ในแชมพูขจัดรังแค แต่ก็นำมาใช้รักษาสิวหรือเกลื้อนของผิวหนังได้

ควรเลือกใช้สบู่ผสมสารชุ่มชื้นเพื่อป้องกันผิวแห้งใช่หรือไม่

การ ใช้สบู่ชำระล้างทำความสะอาดผิวควรใช้ให้พอดี ถ้าหลังอาบน้ำเกิดผิวแห้งควรลดปริมาณการใช้สบู่ลง เลี่ยงการอาบน้ำอุ่นจัดหรืออาบน้ำนานเกินควร การใช้สบู่ผสมสารชุ่มชื้นต่าง ๆ อาจช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นได้ โดยลักษณะของสบู่ชนิดนี้ต้องเหลือความลื่นของสาร ซึ่งหลายคนไม่ชอบ ดังนั้นถ้าใช้สบู่ผสมสารเพิ่มความชุ่มชื้นแต่ก็พยายามที่จะล้างออกให้หมด ก็คงไม่มีประโยชน์ที่จะใช้ ทางที่ดีถ้าต้องการให้ผิวชุ่มชื้นไม่แห้ง เมื่อใช้สบู่ที่ผสมสารชุ่มชื้นแล้วก็ล้างออกให้พอดี เมื่อลูบผิวแล้วมีความลื่น ติดอยู่เล็กน้อยไม่ถึงกับขัดถูเสียจนผิวดังเอี๊ยด ถ้าเป็นอย่างนี้ใช้ไปก็ไม่มีประโยชน์จริง ๆ ด้วย

วิตามินหรือสารสกัดซึ่งผสมในสบู่จะช่วยถนอมและบำรุงผิวได้จริงหรือ

เป็น อีกคำถามที่พบอยู่เสมอ ๆ ขอบอกว่า การใช้สารบำรุงผิวจะต้องทาทิ้งไว้อยู่นานพอให้สารซึมผ่านเข้าไปในผิวหนัง แต่ถ้าใช้เพียงชั่วครู่ และต้องล้างออกจึงไม่มีประโยชน์ ถ้าต้องการให้สารสกัดหรือวิตามินซึมผ่านเข้าไปในผิว ควรทาสารสกัดหรือวิตามินหลังการอาบน้ำแต่ก็ยังไม่มีข้อยืนยันว่าสารสกัดหรือ วิตามินจะช่วยบำรุงผิวได้จริง

ปัจจุบันการทำความสะอาดผิวกายเพียง เพื่อชำระล้างคราบสกปรกออกจากร่างกายกลายเป็นธุรกิจไปเสียแล้ว เพราะมีการช่วงชิงตำแหน่งผู้นำทางการตลาดกันทุกรูปแบบ เวลาเราเดินในห้างสรรพสินค้าจะเห็นมีผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดมากมายวางเรียงราย ให้เลือกซื้อ มีหลายรูปแบบ หลายราคา แต่ถ้าผู้บริโภคมีความเข้าใจในธรรมชาติของผิวหนังว่าผิวหนังของท่านต้องใช้ ผลิตภัณฑ์ใดถึงจะทำให้ได้รับประโยชน์สูงสุด ท่านก็จะสามารถเลือกซื้อสินค้าได้ถูกต้องตามความต้องการและสมราคาอีกด้วย.


ที่มา : นายแพทย์สุรพงศ์ อำพัน

✿*• เกร็ดความรู้ อาหารดับเครียด •*✿


* กล้วย มี ทริปโตเฟน ซึ่งร่างกายจะเปลี่ยนเป็นเซโรโทนิน ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย อารมณ์ดีขึ้น นอกจากนี้ วิตามินบี6 ยังช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดมีผลไปถึงภาวะทางอารมณ์ด้วยเช่นกัน


   * วอลนัต นอกจากเป็นแหล่งที่ดีของโอเมก้า 3 ซึ่งช่วยป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งต้านมะเร็งแล้ว ผลวิจัยยังพบว่า มีผลต่ออารมณ์ และอัตราการลดลงของภาวะซึมเศร้า


   * เมล็ดทานตะวัน อุดม ไปด้วยโฟเลต และแมกนีเซียม ที่มีบทบาทในการควบคุม และส่งเสริมระดับอารมณ์ คลายความวิตกกังวล หงุดหงิด ซึมเศร้า ทั้งนี้ การศึกษาทางวิทยาศาสตร์ชี้ว่า แมกนีเซียม เป็นประโยชน์ในการรักษาโรคซึมเศร้า แนวโน้มความวิตกกังวล หงุดหงิด รวมถึงอาการนอนไม่หลับ


   * ดาร์คช็อกโกแลต ช่วย กระตุ้นการหลั่งสารเอ็นดอร์ฟิน นอกจากนี้ ยังมีทริปโตเฟนซึ่งเป็นกรดอะมิโนสำคัญ ทำหน้าที่ควบคุมเซโรโทนินสารสื่อ ประสาทที่ควบคุมอารมณ์ เมื่อร่างกายขับเซโรโทนินออกมา จะช่วยให้ผ่อนคลายความวิตกกังวล


   * ไข่ พบว่า สารอาหารหลายชนิดมีบทบาทสำคัญในการผลิตพลังงาน ช่วยเสริมสร้างความจำ และบรรเทาอาการของภาวะซึมเศร้าได้ด้วย

ลองหามารับประทานกันดูนะคะ ไม่ยากเลยค่ะ ^-^

วิธีแก้ง่วง...เวลาทำงาน ได้ผล 100%

เคยทำงาน หรือ อ่านหนังสือดึกดึกไหม ? ง่วงมั่งรึเปล่า ? ทั้งๆ ที่ไม่อยากนอน ? วันนี้เรามีวิธีการมานำเสนอ สำหรับผู้ที่ไม่ต้องการง่วงอย่างได้ผลชะงัก..งัก..งัก



1. วิธี standard method กินกาแฟ แต่ท่านที่ต้องการเห็นผลทันที ควรเอากาแฟหยอดตาหายง่วงปลิดทิ้ง

2. apply มาหน่อย กินยาบ้า สนใจผลิตภัณฑ์นี้ติดต่อบังรอน มี Promotion ใหม่ ซื้อยาบ้า 1 เม็ดแถมมีดปลายแหลม 1 ด้าม เพื่อสะดวกแก่การฟุ้งซ่าน ถ้าโชคดีมีสิทธิ์ขึ้นข่าวหน้า 1 เป็นคนดังชั่วข้ามคืน

3. อมเปลือกทุเรียนไว้ทั้งเปลือก ห้ามคายไม่งั้นเดี๋ยวง่วง ผู้ที่ไม่ชอบทุเรียน อนุญาตให้อมครกแทนได้ แต่ไร้รสชาด

4. ง่วงแล้วหยิกตัวเองให้ตื่น ถ้าไม่หาย เปลี่ยนไปหยิกคนข้างๆ แล้วคนข้างๆ จะประเคนลำแข้งให้หายง่วงได้

5. หาเรื่องเครียดเครียดใส่ตัว เช่น ใช้เงินทั้งเดือนให้หมดภายใน 1 วัน ไปมีเรื่องกับจิ๊กโก๋ปากซอยเอาให้มันอาฆาตเล่น หรือไปหาเรื่องให้ตัวเอง ติดเอดส์ เป็นต้น จะทำให้ตาค้างตลอดคืน

6. อย่าอยู่เงียบๆ หรือฟังเพลงเบาๆ ต้องหาสถานที่หนวกหูตอนดีกดีก เช่น ถนนหรือทางด่วนที่มันชอบซิ่งรถ บ้านที่ผัวเมียชอบทะเลาะกันดึกดึก RCA ร้านไหนก็ได้ หอบงานไปทำบริเวณนั้นทำให้ไม่หลับ วิธีนี้เหมาะกับ คนจิตแข็งมีสมาธิดีเท่านั้น

7. อย่าทำงาน หรืออ่านหนังสือบนเตียงนอน หลับแหงแหง ให้ทำใต้เตียงแทน อึดอัดหน่อย ต้องทน

8. นอนกลางวัน สะสมก่อน ถ้าเจ้านายถามก็บอกว่าเก็บแรงไว้ทำงาน ให้เจ้านายตอนกลางคืน เจ้านายจะซาบซึ้งมาก

9. ต้องทำตาให้ค้าง สมัยก่อนใช้ไม้หนีบแต่สามารถใช้กาวตราช้างหรือไปกราบไหว้ผีบ้านผีเรือนให้มา ปรากฎตัวแทนได้ จะทำให้ตาค้างได้ดีมากเหมือนกัน

10.อย่าขยันทำการบ้านนะ จะเพลียแย่ ทำให้ง่วงได้ (วิธีนี้เฉพาะคนมีครอบครัว)
**สำหรับท่านที่ทำครบทุกข้อแล้วยังไม่สามารถหาทางแก้ง่วงได้ เราขอแนะนำท่านว่าให้ทำทั้งหมดใหม่
อีกรอบ **

วันเสาร์ที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

สมุนไพรไทย




 สมุนไพร หมายถึง “พืชที่ใช้ทำเป็นเครื่องยา” ส่วน ยาสมุนไพร หมายถึง “ยาที่ได้จากส่วนของพืช สัตว์ และแร่ ซึ่งยังมิได้ผสมปรุง หรือ แปรสภาพ” ส่วนการนำมาใช้ อาจดัดแปลงรูปลักษณะของสมุนไพรให้ใช้ได้สะดวกขึ้น เช่น นำมาหั่นให้มีขนาดเล็กลง หรือ นำมาบดเป็นผงเป็นต้นมีแต่พืชเพียงอย่างเดียวหามิได้เพราะยังมีสัตว์และแร่ ธาตุอื่นๆอีกสมุนไพร ที่เป็นสัตว์ได้แก่ เขา หนัง กระดูก ดี หรือเป็นสัตว์ทั้งตัวก็มี เช่น ตุ๊กแกไส้เดือน ม้าน้ำ ฯลฯ "พืชสมุนไพร" นั้นตั้งแต่โบราณก็ทราบกันดีว่ามีคุณค่าทางยามากมายซึ่ง เชื่อกันอีกด้วยว่า ต้นพืชต่างๆ ก็เป็นพืชที่มีสารที่เป็นตัวยาด้วยกันทั้งสิ้นเพียงแต่ว่าพืชชนิดไหนจะมีคุณ ค่าทางยามากน้อยกว่ากันเท่านั้น "พืชสมุนไพร" หรือวัตถุธาตุนี้ หรือตัวยาสมุนไพรนี้ แบ่งออกเป็น 5 ประการ
1. รูป ได้แก่ ใบไม้ ดอกไม้ เปลือกไม้ แก่นไม้ กระพี้ไม้ รากไม้ เมล็ด
2. สี มองแล้วเห็นว่าเป็นสีเขียวใบไม้ สีเหลือง สีแดง สีส้ม สีม่วง สีน้ำตาล สีดำ
3. กลิ่น ให้รู้ว่ามรกลิ่น หอม เหม็น หรือกลิ่นอย่างไร
4. รส ให้รู้ว่ามีรสอย่างไร รสจืด รสฝาด รสขม รสเค็ม รสหวาน รสเปรี้ยว รสเย็น
5. ชื่อ ต้องรู้ว่ามีชื่ออะไรในพืชสมุนไพรนั้นๆ ให้รู้ว่า ขิงเป็นอย่างไร ข่า เป็นอย่างไร ใบขี้เหล็กเป็นอย่างไร
ดอกมะขามเป็นอย่างไร ผลมะเกลือเป็นอย่างไร
สมุนไพรนอกจากจะนำมาใช้ประโยชน์เป็นยารักษาโรคแล้ว ยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางด้านอื่นๆอีก เช่นนำมาบริโภคเป็นอาหาร อาหารเสริมสุขภาพ เครื่องดื่ม สีผสมอาหาร และสีย้อม ตลอดจนใช้ทำเครื่องสำอางอีกด้วย การใช้สมุนไพรเป็นยาบำบัดโรคนั้น อาจใช้ในรูปยาสมุนไพรเดี่ยวๆ หรือใช้ในรูปตำรับยาสมุนไพร
ปัจจุบันตำรับยาสามัญประจำบ้านแผนโบราณที่กระทรวงสาธารณสุขอนุญาตให้ใช้รักษาโรคได้มีทั้งหมด 27 ขนาน เช่น - ยาจันทน์ลีลา ใช้แก้ไข้ แก้ตัวร้อน
- ยามหานิลแท่งทอง ใช้แก้ไข้ แก้หัด อีสุกอีใส
- ยาหอมเทพพิจิตร แก้ลม บำรุงหัวใจ
- ยาเหลืองปิดสมุทร แก้ท้องเสีย
- ยาประสะมะแว้ง แก้ไอ ขับเสมหะ
- ยาตรีหอม แก้ท้องผูกในเด็กระบายพิษไข้

สำหรับสมุนไพรที่นิยมใช้เดี่ยวๆ รักษาอาการของโรคที่พบบ่อยๆ ได้แก่
- สมุนไพรแก้ไข้ ฟ้าทะลายโจร บอระเพ็ด
- สมุนไพรแก้ท้องเสีย กล้วยน้ำว้า ทับทิม ฝรั่งดิบ
- สมุนไพรแก้ไอ มะแว้ง ขิง มะนาว
- สมุนไพรแก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ขมิ้นชัน แห้วหมู กระชาย
- สมุนไพรช่วยให้นอนหลับ ขี้เหล็ก ดอกบัวหลวง หัวหอมใหญ่
- สมุนไพรแก้เชื้อรา กระเทียม ข่า ชุมเห็ดเทศ
- สมุนไพรแก้เริม เสลดพังพอนตัวเมีย และตัวผู้

1. ราก
2. ลำต้น
3. ใบ
4. ดอก
5. ผล
"พืชสมุนไพร" เหล่านี้มีลักษณะลำต้น ยอด ใบ ดอก ที่แตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ แต่ส่วนต่างๆ ก็ทำหน้าที่เช่นเดียวกัน เช่นรากก็ทำหน้าที่ดูดอาหาร มาเลี้ยงลำต้นกิ่งก้านต่างๆและใบกับส่วนต่างๆนั่นเองใบก็ทำหน้าที่ปรุงอาหาร ดูดออกซิเจน คายคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา ดอก ผล เมล็ด ก็ทำหน้าที่สืบพันธุ์กันต่อไป เพื่อทำให้พืชพันธุ์นี้แพร่กระจายออกไปเรื่อยๆไม่มีที่สิ้นสุด

1. ราก รากของพืชมีมากมายหลายชนิดเอามาเป็นยาสมุนไพรได้อย่างดี เช่นกระชายขมิ้นชัน ขิง ข่า เร่ว ขมิ้นอ้อย เป็นต้น รูปร่างและลักษณะของราก แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
1.1 รากแก้ว ต้นพืชมากมายหลายชนิดมีรากแก้วอยู่นับ ว่าเป็นรากที่สำคัญมากงอกออกจาลำต้นส่วนปลายรูปร่างยาวใหญ่ เป็นรูปกรวยด้านข้างของรากแก้วจะแตกแยกออกเป็นรากเล็กรากน้อยและ รากฝอยออกมาเป็นจำนวนมากเพื่อทำการดูดซึมอาหารในดินไปบำรุงเลี้ยงส่วนต่างๆ ของต้นพืชที่มีรากแก้วได้แก่ ต้นขี้เหล็ก ต้นคูน เป็นต้น
1.2 รากฝอย รากฝอยเป็นส่วนที่งอกมาจากลำต้นของพืชที่ส่วนปลายงอกออกมาเป็น รากฝอยจำนวนมากลักษณะรากจะกลมยาวมีขนาดเท่าๆกันต้นพืชที่มีใบเลี้ยงเดี่ยวจะมีรากฝอย เช่น หญ้าคา ตะไคร้ เป็นต้น
2. ลำต้น นับว่าเป็นโครงสร้างที่สำคัญของต้นพืชทั้งหงายที่มีอยู่สามารถค้ำยันเอาไว้ ได้ไม่ให้โค่นล้มลงโดยปกติแล้วลำต้นจะอยู่ บนดินแต่บางส่วนจะอยู่ใต้ดินพอสมควร รูปร่างของลำต้นนั้นแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนด้วยกัน คือ ตา ข้อ ปล้อง บริเวณเหล่านี้จะมีกิ่งก้าน ใบดอกเกิดขึ้นอีกด้วยซึ่งจะทำให้พืช มีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปชนิดของลำต้นพืช แบ่งตามลักษณะภายนอกของลำต้นได้เป็น
1. ประเภทไม้ยืนต้น
2. ประเภทไม้พุ่ม
3. ประเภทหญ้า
4. ประเภทไม้เลื้อย
3. ใบ ใบเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของต้นพืชทั่วไป มีหน้าที่ทำการสังเคราะห์แสง ผลิตอาหารและ เป็นส่วนที่แลกเปลี่ยนน้ำ และอากาศให้ต้นพืชใบเกิดจากการงอกของกิ่งและตาใบไม้โดยทั่วไปจะมีสีเขียว (สีเขียวเกิดจากสารที่มีชื่อว่า"คอลโรฟิลล์"อยู่ในใบของพืช)ใบของพืชหลาย ชนิดใช้เป็นยาสมุนไพรได้ดีมาก รูปร่างและลักษณะของใบนั้น ใบที่สมบูรณ์มีส่วนประกอบรวม 3 ส่วนด้วยกันคือ
1. ตัวใบ
2. ก้านใบ
3. หูใบ
ชนิดของใบ แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิด คือ
1. ชนิดใบเลี้ยงเดี่ยว หมายถึงก้านใบอันหนึ่ง มีเพียงใบเดียว เช่น กานพลู ขลู่ ยอ กระวาน
2. ชนิดใบประกอบ หมายถึงตั้งแต่ 2 ใบขึ้นไปที่เกิดขึ้นก้านใบอันเดียว มีมะขามแขก แคบ้าน ขี้เหล็ก มะขาม เป็นต้น
4. ดอก ส่วนจองดอกเป็นส่วนที่สำคัญของพืชเพื่อเป็นการแพร่พันธุ์ของพืชเป็นลักษณะ เด่นพิเศษของต้นไม้แต่ละชนิด ส่วนประกอบของดอกมีความแตกต่างกันตามชนิดของพันธุ์ไม้และลักษณะที่แตกต่าง กันนี้เป็นข้อมูลสำคัญในการจำแนกประเภทของ ต้นไม้รูปร่างลักษณะของดอก
ดอกจะต้องมีส่วนประกอบที่สำคัญ 5 ส่วนคือ
1. ก้านดอก
2. กลีบรอง
3. กลีบดอก
4. เกสรตัวผู้
5. เกสรตัวเมีย
5. ผล ผลคือส่วนหนึ่งของพืชที่เกิดจากการผสมเกสรตัวผู้กับเกสรตัวเมียในดอกเดียว กันหรือคนละดอกก็ได้ มีลักษณะรูปร่างที่แตกต่างกันออกไปตามประเภทและสายพันธุ์รูปร่างลักษณะของผล มีหลายอย่าง ตามชนิดของต้นไม้ที่แตกต่างกัน แบ่งตามลักษณะของการเกิดได้รวม 3 แบบ
1. ผลเดี่ยว หมายถึง ผลที่เกิดจากรังไข่อันเดียวกัน
2. ผลกลุ่ม หมายถึง ผลที่เกิดจากปลายช่อของรังไข่ในดอกเดียวกัน เช่น น้อยหน่า
3. ผลรวม หมายถึง ผลที่เกิดมาจากดอกหลายดอก เช่น สับปะรด
มีการแบ่งผลออกเป็น 3 ลักษณะคือ
1. ผลเนื้อ
2. ผลแห้งชนิดแตก
3. ผลแห้งชนิดไม่แตก

สมุนไพร วิธีการเก็บส่วนที่ใช้เป็นยา
"พืชสมุนไพร" มีมากมาย บางทีก็อาจจะเอาเปลือกของลำต้นมาใช้ประโยชน์ในการทำเป็นยา หรือบางชนิดก็เอาดอกมาทำเป็นยา แต่บางอย่างอาจจะต้องใช้ใบก็ได้ หรืออาจจะเอาส่วนของรากมาทำเป็นยาก็มี ด้วยเหตุนี้เองการเลือกส่วนที่จะเอามาใช้ประโยชน์จึงมีความสำคัญมากเช่น เดียวกัน
จะเก็บอย่างไรจึงจะถูกวิธีหรือทำให้คุณค่าทางยามากที่สุดไม่เสียหาย สิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งเห็นจะได้แก่ "ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการเก็บ "พืชสมุนไพรเอามาเป็นยา" นั้นเอง
การเก็บส่วนของพืชสมุนไพรเอามาทำเป็นยานั้น ถ้าเก็บในระยะเวลาที่ไม่เหมาะก็มีผลต่อการออกฤทธิ์ในการรักษาโรคของสมุนไพร ได้ นอกจากจะต้องคำนึงถึงเรื่องช่วงเวลาในการเก็บยาเป็นสำคัญแล้ว ยังจะต้องคำนึงถึงว่าการเก็บยานั้นถูกต้องหรือไม่ ส่วนไหนของพืชใช้เป็นยา ดินที่ปลูกพืชสมุนไพร อากาศ เป็นอย่างไร การเลือกเก็บส่วนที่เป็นยาอย่างถูกวิธีการนั้น จะมีผลอย่างมากต่อประสิทธิภาพของยาที่จะนำมารักษาโรค หากปัจจัยต่างๆ ดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไป ปริมาณตัวยาที่มีอยู่ในสมุนไพรนั้นๆ ก็จะเปลี่ยนแปลงตามไปด้วย ทำให้ยาที่ได้มานั้นไม่เกิดผลดีในการบำบัดรักษาโรคได้เท่าที่ควร
หลักการโดยทั่วไปในการเก็บส่วนของพืชสมุนไพร แบ่งออกได้ดังนี้
ประเภทเก็บรากหรือหัว
สมควรเก็บในช่วงเวลาที่พืชหยุดการเจริญเติบโต ใบ ดอก ร่วงหมดแล้ว หรือในช่วงต้นฤดูหนาวถึงปลายฤดูร้อน เพราะเหตุว่าในช่วงเวลานี้รากและหัวมีการสะสมปริมาณตัวยาเอาไว้ค่อนข้างสูง วิธีการเก็บก็จะต้องใช้วิธีขุดด้วยความระมัดระวังให้มาก อย่าให้รากหรือหัวเกิดการเสียหาย แตกช้ำ หักขาดขึ้นได้ รากหรือหัวของพืชสมุนไพรก็มี ข่า กรชาย กระทือ ขิง เป็นต้น
ประเภทใบหรือเก็บทั้งต้น
ควรจะเก็บใบที่เจริญเติบโตมากที่สุด หรือพืชบางอย่างอาจระบุช่วงเวลาเก็บอย่างชัดเจน เก็บใบอ่อนหรือไม่แก่เกินไป เก็บช่วงดอกหรือบาน หรือช่วงเวลาที่ดอกบาน เป็นต้น การกำหนดช่วงเวลาที่เก็บใบ เพราะช่วงเวลานั้นในใบมีตัวยามากที่สุด วิธีการเก็บก็ใช้วิธีเด็ด ตัวอย่างเช่น ใบกระเพรา ใบฝรั่ง ใบฟ้าทะลาย เป็นต้น
ประเภทเปลือกต้นหรือเปลือกราก
เปลือกต้นโดยมากเก็บช่วงฤดูร้อนต่อกับช่วงฤดูฝน ปริมาณยาในพืชสมุนไพรมีสูง และลอกออกได้ง่าย สะดวก ในการลอกเปลือกต้นนั้น อย่าลอกเปลือกออกทั้งรอบต้น เพราจะกระทบกระเทือนในการส่งลำเลียงอาหารของพืช จะทำให้ตายได้ ทางที่ดีควรลอกเปลือกกิ่งหรือส่วนที่เป็นแขนงย่อย ไม่ควรลอกออกจากล้าต้นใหญ่ของต้นไม้ หรือจะใช้วิธีลอกออกในลักษณะครึ่งวงกลมก็ได้ ส่วนเปลือกราก เก็บในช่วงฤดูฝนเหมาะมากที่สุด เนื่องจากการลอกเปลือกรากเป็นผลเสียต่อการเจริญเติบโตของพืช
ประเภทดอก
โดยทั่วไปเก็บในช่วงดอกเริ่มบาน แต่บางชนิดเก็บในช่วงดอกตูม เช่น กานพลู เป็นต้น
ประเภทผลและเมล็ด
พืชสมุนไพรบางอย่าง อาจจะเก็บในช่วงที่ผลยังไม่สมบูรณ์หรือยังไม่สุกก็มี เช่น ฝรั่งเก็บเอาผลอ่อนมาเป็นยาแก้ท้องร่วง แต่โดยทั่วไปมักเก็บเมื่อผลแก่เต็มที่แล้ว ตัวอย่างเช่น มะแว้ต้น มะแว้งเครือ ดีปลี เมล็ดฟักทอง เมล็ดชมเห็ดไทย เมล็ดสะแก เป็นต้น
คุณภาพของสมุนไพรที่จะใช้รักษาโรคได้ดีหรือไม่นั้น สำคัญอยู่ที่ช่วงเวลาการเก็บสมุนไพรและวิธีการเก็บ ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่จะต้องคำนึงถึงอีกอย่างก็คือ พื้นดินที่ปลูกพืชสมุนไพร เช่น ลำโพง ควรปลูกในพื้นดินที่เป็นด่าง จะมีปริมาณตัวยาสูง สะระแหน่ หากปลูกในที่ดินทราย ปริมาณน้ำมันหอมระเหยสูง และยังมีปัญหาทางด้านสภาพสิ่งแวดล้อมในการเจริญเติบโต และภูมิอากาศเป็นต้น สิ่งเหล่านี้ต่างก็มีผลต่อพืชสมุนไพรด้วยกันทั้งสิ้น จึงควรพิจารณาให้ดีในเรื่องนี้ด้วย
เก็บพืชสมุนไพรให้ถูกต้อง เหมาะสม ในช่วงเวลาที่สมควรเก็บ เก็บแล้วจะได้พืชสมุนไพรที่มีปริมาณของตัวยาสูง มีคุณค่า มีสรรพคุณทางยาดีมาก ดีกว่าเก็บในช่วงที่ไม่เหมาะสม

:: การสับยา ::
เป็นการนำสมุนไพรสดหรือแห้งมาสับให้มีขนาดเล็กลง ให้พอเหมาะแก่การใช้ปรุงเป็นยา การสับยายังช่วยทำให้ยาสดที่เก็บมาผึ่งแห้งได้เร็ว ไม่ก่อให้เกิดเชื้อรา ยาที่มีปริมาณน้ำมากๆ ควรสับให้เป็นแผ่นบางๆ เพื่อให้ยาแห้งทันก่อนที่จะเกิดเชื้อรา
:: อุปกรณ์ที่ใช้ ::
1. มีด และ เขียง สำหรับสับยา
2. ถาดขนาดใหญ่ สำหรับใส่ยาที่สับแล้ว
3. กระสอบป่านหรือผ้าใบ สำหรับปูรองรับยา
4. ผ้านวม หรือ แผ่นยาง สำหรับรองเขียงกันเสียงดังเกินไป
:: ขั้นตอนการสับยา ::
1. ปูกระสอบป่านหรือผ้าใบบนโต๊ะสับยา
2. วางถาดลงบนกระสอบป่านหรือผ้าใบ
3. วางเขียงลงในถาด โดยใช้ผ้านวมหรือแผ่นยางรองใต้เขียง
4. นำชิ้นยาสมุนไพรมาสับตามขนาดที่ต้องการ ระวังอย่าให้ยากระเด็นออกนอกถาด หรือนอกแนวผ้าใบ
:: การเก็บยา ::
1. นำยาที่สับแล้วไปใส่ลงตามลิ้นชักที่มีชื่อยานั้นๆ หรือนำไปอบให้แห้ง
2. นำยาที่สับได้ใส่ปีบหรือถุงสำรองยา เขียนชื่อ และวันที่ติดให้เรียบร้อย ล้าง เช็ดอุปกรณ์การสับยาให้เรียบร้อย ผึ่งให้แห้ง แล้วนำเก็บเข้าที่

:: การอบยา ::
เป็นการทำให้ยาแห้งสนิท ป้องกันเชื้อรา และฆ่าเชื้อโรค ตัวยาที่จะนำมาอบ ควรเป็นตัวยาที่ไม่ระเหย หรือเปลี่ยนสภาพเมื่อถูกความร้อน เช่น พิมเสน การบูร เมลทอล ยางไม้ เป็นต้น ยาที่จะนำมาอบ อาจเป็นยาเดี่ยวๆ หรือยาตำรับก็ได้
:: ขั้นตอนการอบยา ::
1. นำตัวยาที่จะอบใส่ลงในถาดอบยา อย่าให้อัดทับกันแน่นหรือหนามากเกินไป
2. เขียนชื่อยาหรือตัวยา, น้ำหนักยา, วัน/เดือน/ปี, หมายเลขถาดยา ติดข้างถาด
3. นำถาดยาเข้าตู้อบเรียงตามลำดับเลขที่
4. บันทึกรายชื่อยาขนานต่างๆ หรือ ตัวยาที่นำเข้าตู้อบ


:: การบดยา ::
ยาที่จะนำมาบดจะต้องย่อยเป็นชิ้นขนาดเล็กเสียก่อน
:: ขั้นตอนการบดยา ::
1. นำยาที่ย่อยและอบแล้วใส่ลงไปในเครื่อง 1/4 ของความจุของเครื่อง เช่น เครื่องบดได้ 2 ก.ก. ก็ใส่ตัวยาลงไป 500 กรัม เป็นต้น
2. บดยาครั้งที่ 1 ใช้เวลานาน 1/2 ชั่วโมง หยุดเครื่อง
3. ใส่ตัวยาที่เหลือลงไปให้เต็มตามขนาดจุของเครื่อง
4. เขียนชื่อยา น้ำหนักยาก่อนบด เวลาเริ่มบด ปิดไว้บนฝาเครื่องบดยา
5. เดินเครื่องบดยานาน 3 ชั่วโมง หยุดเครื่อง
6. เมื่อบดยาเสร็จแล้ว ตักยาออกใส่ภาชนะเตรียมร่อนยาต่อไป
7. ยาที่ร่อนแล้วเอากากมาบดอีก เป็นครั้งที่ 2 บดนาน 3 ชั่วโมง
8. เมื่อบดยาเสร็จแล้ว เช็ดทำความสะอาดเครื่องบดยา ด้วยผ้าชุบน้ำให้ทั่ว แล้วเช็ดด้วยผ้า เป่าลมให้แห้งและไล่ฝุ่นผงตามซอกต่างๆ ปิดฝาเครื่อง


:: การร่อนยา ::
เป็นการนำเอายาที่บดแล้วมาร่อนด้วยตะแกรงหรือแร่ง เอาเฉพาะยาส่วนที่ละเอียดตามที่ต้องการ การร่อนยา อาจใช้เครื่อง หรือร่อนยาด้วยมือก็ได้ ตามแต่ปริมาณของงานที่ทำ ตะแกรงร่อนยาที่นิยมใช้กันมีอยู่ 3 ขนาด คือ
1. เบอร์ 100 จะได้ผงยาที่ละเอียด
2. เบอร์ 80 ได้ผงยาขนาดปานกลาง
3. เบอร์ 60 ได้ผงยาหยาบ
ที่ใช้ประจำคือ เบอร์ 100 และ เบอร์ 80
:: ขั้นตอนการร่อนยา ::
1. นำยาที่บดแล้วมาใส่ลงในตะแกรงร่อนยาตามขนาดที่ต้องการ
2. ชั่งเนื้อยาที่ร่อนได้ และกากยาที่เหลือ แยกใส่ถุงมัดให้แน่น
3. เขียนชื่อยา น้ำหนัก วัน/เดือน/ปี และชื่อผู้ร่อนยา ปิดไว้ที่ข้างถุง
:: การดูแลรักษาตะแกรงร่อนยา ::
1. ใช้แปรงปัดทำความสะอาดตามตะแกรงและขอบตะแกรง
2. ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตะแกรงและขอบตะแกรง แล้วเช็ดหรือเป่าลมให้แห้งสนิท
3. ใช้เกรียงโป๊วขูดตะแกรงเบาๆ และใช้แหนบถอนเอาเสี้ยนยาออกให้หมด
4. เก็บตะแกรงร่อนยาเข้าตู้
:: การดูแลรักษาเครื่องร่อนยา ::
ปัดฝุ่นผง เช็ดเครื่องร่อนยาด้วยผ้าชุบน้ำ เป่าลมให้แห้งสนิท ปิดฝาเครื่อง


:: การทำยาลูกกลอน ::
ยาลูกกลอนเป็นรูปแบบของการทำยาแผนโบราณ มีลักษณะเป็นเม็ดกลม ทำมาจากผงยาสมุนไพรผสมกับกระสายยา นิยมใช้น้ำผึ้งเป็นกระสายยาปั้นลูกกลอน เพราะน้ำผึ้งทำให้การจับเม็ดได้ดี แตกตัวช้า ออกฤทธิ์ได้นาน ช่วยบำรุงร่างกายผู้ป่วย และช่วยให้รสยาดีขึ้น นอกจากใช้น้ำผึ้งแล้ว ยังสามารถใช้สารยึดเหนี่ยวอื่นๆ ได้
:: การทำยาลูกกลอนน้ำผึ้ง ::
1. การเคี่ยวน้ำผึ้ง เพื่อไล่น้ำออกจากน้ำผึ้ง ทำให้เหนียว เม็ดยาจับกันแน่น
1.1 ตวงน้ำผึ้งหนักเท่ากับน้ำหนักของยาผงที่จะใช้ทำลูกกลอนโดยประมาณ หากยาผงประกอบด้วยเกลือ ยาดำ มหาหิงค์ ก็ใช้น้ำผึ้งน้อยลงไป ใส่ลงในหม้อ
1.2 นำหม้อน้ำผึ้งไปตั้งไฟเคี่ยวด้วยไฟแรง คนไปเรื่อยๆ จนฟองเดือดเล็กลง ใช้เวลาประมาณ 10-15 นาที ทดลองนำน้ำผึ้งมาหยดลงในน้ำ ถ้าน้ำผึ้งรวมเป็นก้อนแข็งจึงจะใช้ได้ ถ้ายังเหนียวไม่แข็ง ก็เคี่ยวต่อไป ทดลองทำใหม่ จนได้ที่ดี
1.3 เติมน้ำสะอาดปริมาณเท่ากับน้ำผึ้งในตอนแรกลงไปเคี่ยวต่อ แล้วลองหยดน้ำผึ้งลงในน้ำ ถ้าน้ำผึ้งจับตัวแข็งเป็นก้อนก็ยกลงจากเตา
1.4 กรองน้ำผึ้งที่เคี่ยวแล้วด้วยผ้ากรอง ในขณะที่ยังร้อนอยู่ และคนต่อไปจนกว่าน้ำผึ้งจะเย็น เป็นอันเสร็จการเคี่ยวน้ำผึ้ง
2. การผสมน้ำผึ้งกับผงยา
2.1 ชั่งผงยาที่จะทำเม็ดเทลงในกาละมังที่แห้งสะอาด
2.2 ตักน้ำผึ้งที่เคี่ยวแล้ว เทราดลงบนผงยาทีละทัพพี คลุกเคล้าให้เข้ากับน้ำผึ้งไปเรื่อยๆ จนเนื้อยาเข้ากันดี ทดลองปั้นเม็ดด้วยมือ หากได้ที่ดี ยาจะไม่ติดมือ บีบเม็ดยาดูจะไม่แตกร่วน การคลุกเคล้ายาทำด้วยมือ ควรสวมถุงมือ ถ้ามือไม่แห้ง จะทำให้ยาเกิดเชื้อราได้ง่าย
:: การปั้นลูกกลอน ::
1. การทำลูกกลอนด้วยเครื่องปั้นลูกกลอน
เครื่องมือและอุปกรณ์
1. เครื่องปั้นลูกกลอน
2. เครื่องรีดเส้น
3. ถาดใส่เส้นยาและเม็ดยาสำเร็จ
4. แปรงทองเหลือง สำหรับขจัดยาที่ติดเครื่องรีดเส้น
5. กาต้มน้ำขนาดใหญ่ สำหรับต้มน้ำล้างเครื่องทำยา
การเตรียมเครื่องมือ
1. ทำความสะอาดเครื่องปั้นลูกกลอนและเครื่องรีดเส้นยา โดยใช้น้ำร้อนเดือดเทราดลงในเครื่อง เอากาละมังรองน้ำทิ้ง เช็ดให้แห้ง แล้วเช็ดด้วยแอลกอฮอล์
2. เตรียมถาดมาวางเพื่อรองรับเส้นยา และ ลูกกลอน
การผลิต
1. นำยาที่ผสมกับน้ำผึ้งแล้ว ใส่ลงในเครื่องรีดเส้น 1-2 ครั้ง เพื่อให้เนื้อยาแน่นและเรียบ ใช้มีดตัดเส้นยาที่รีดออกจากเครื่องให้มีขนาดยาวพอดีกับความกว้างของเครื่อง ทำเม็ดลูกกลอน
2. เปิดเครื่องทำลูกกลอน นำเส้นยาไปวางขวางบนเครื่องทำเม็ด เส้นยาจะถูกตัดออกกลิ้งให้เป็นเม็ดกลมๆ ตกลงไปบนถาดรับเม็ดยา
3. คัดเม็ดยาที่ไม่ได้ขนาดออก นำเม็ดยาที่ได้ไปแต่งเม็ดในถังเคลือบเม็ดยา เปิดเครื่องหมุนถังเคลือบเม็ดยา จนได้เม็ดยากลมเรียบดี
4. นำเม็ดยาใส่ถาดอย่าให้ทับกันหนามากเกินไป นำเข้าเครื่องอบยาที่อุณหภูมิ 50-55 องศาเซลเซียส นาน 4-6 ชั่วโมง จนยาแห้งสนิทดี ทิ้งไว้ให้เย็น
5. บรรจุยาใส่ขวดหรือถุงปิดให้สนิทเพื่อป้องกันความชื้น
2. การทำลูกกลอนด้วยรางกลิ้งยา
เครื่องมือและอุปกรณ์
1. รางกลิ้งยาและฝาประกบ
2. ถาดใส่เส้นยาและเม็ดยา
3. น้ำมันพืชหรือน้ำมันที่ไม่มีกลิ่น
4. ชามขนาดกลาง 2 ใบ
5. ผ้าสะอาด
6. กาต้มน้ำขนาดใหญ่
7. โต๊ะวางรางกลิ้งยา
การเตรียมเครื่องมือ
1. ล้างทำความสะอาดรางกลิ้งยาและฝาประกบ โดยราดน้ำร้อนแล้วเช็ดให้แห้ง และเช็ดด้วยแอลกอฮอล์อีกครั้งหนึ่ง ทิ้งไว้ให้แห้งสนิทก่อนนำมาใช้กลิ้งยา
2. วางรางกลิ้งยาบนโต๊ะ จัดวางถาดรับเม็ดยาท้ายรางกลิ้งยา
3. เทน้ำสุกใส่ชาม ครึ่งชาม และเทน้ำมันพืชลงไปอีก 1/4 ของชาม นำผ้าสะอาดผืนเล็กๆ ชุบน้ำสุก แล้วบิดให้หมาด นำมาแช่ลงในชามน้ำผสมน้ำมัน เพื่อไว้เช็ดรางยาเมื่อยาเริ่มจะติดราง
:: การกลิ้งยาลูกกลอน ::
1. นำยาที่ผสมกับน้ำผึ้ง มารีดเป็นเส้น หรือคลึงด้วยมือให้ได้ขนาดเท่ากับร่องของรางกลิ้งยา ตัดขนาดยาวเท่าความกว้างของรางกลิ้งยา
2. นำเส้นยามาวางขวางบนรางกลิ้งยา นำฝาประกบมาวางทับลงบนเส้นยา เลื่อนฝาประกบไปมาค่อยๆ ลงน้ำหนักกดฝาประกบลงไป จนฝาประกบและรางกลิ้งยาชิดกัน แล้วกลิ้งไปมาอีก 3-4 ครั้งจนยาเป็นเม็ดดีแล้ว จึงดันฝาประกบไปข้างหน้า เพื่อทำให้เม็ดยาตกลงไปในถาดรับเม็ดยา
3. เมื่อกลิ้งยาไปหลายๆ ครั้งจนยาเริ่มจะติดราง ผิวเม็ดยาเริ่มหยาบ ให้เอาผ้าชุบน้ำผสมน้ำมัน บิดพอหมาดๆ เช็ดรางกลิ้งยา ไม่ควรถูไปมาสวนทางกัน
4. เมื่อได้เม็ดยาตามต้องการ นำเม็ดยาใส่ถาด นำเข้าเครื่องอบยาที่อุณหภูมิ 50-55 องศาเซลเซียส นาน 4-6 ชั่วโมง จนยาแห้งสนิทดี ทิ้งไว้ให้เย็น
5. บรรจุยาใส่ขวดหรือถุงปิดให้สนิทเพื่อป้องกันความชื้น
:: สาเหตุที่ทำให้ยาไม่เป็นเม็ดหรือได้เม็ดไม่สวย ::

1. ใส่น้ำผึ้งน้อยเกินไป ทำให้เส้นยาแห้งปละแข็ง
2. ใส่น้ำผึ้งมากเกินไป ทำให้ยานิ่มไม่เป็นเม็ด
3. เส้นยาเล็กกว่าร่อง ทำให้ยาไม่เต็มเม็ด หรือมีร่องกลางเม็ด
4. ใช้แรงกดฝาประกบแรงเกินไปทำให้เส้นยาแบน ไม่เป็นเม็ด
5. เช็ดรางยาเปียกโชคเกินไป ทำให้ผิวเม็ดยาเปียกหลุดติดรางยา
นอกจากจะใช้เครื่องปั้นลูกกลอนและรางกลิ้งยาแล้ว ยังสามารถปั้นเม็ดทีละเม็ดด้วยมือก็ได้ แต่ทำได้ช้าและดูไม่ค่อยสะอาด ไม่เหมาะสำหรับการทำยาทีละมากๆ ได้ขนาดไม่สม่ำเสมอ ส่วนมากนิยมใช้ปั้นยาลูกกลอนตามแบบโบราณ คือใช้น้ำผึ้งสดๆ มาผสมปั้นเม็ด ทำเก็บไว้รับประทานได้ไม่เกิน 2-3 วัน แล้วทำใหม่อีก ถ้าทำทิ้งไว้นานจะเสียและเกิดรา เหมาะสำหรับทำรับประทานเอง


:: การทำยาเม็ดพิมพ์มือ ::
:: เครื่องมือและอุปกรณ์ ::
1. เครื่องพิมพ์เม็ดยาด้วยมือ (แม่พิมพ์ทองเหลือง)
2. กระจกใส 1 x 1 ฟุต
3. ถาดใส่เม็ดยา
4. แป้งมัน
:: การเตรียมเครื่องมือ ::
ล้างแม่พิมพ์ทองเหลืองด้วยน้ำร้อน และล้างกระจกให้สะอาด เช็ดให้แห้ง แล้วเช็ดด้วยแอลกอฮอล์อีกครั้งหนึ่ง ทิ้งให้แห้งสนิทก่อนนำมาพิมพ์เม็ดยา
:: วิธีทำ ::
1. กวนแป้งมันทำเป็นแป้งเปียกใสๆ ปริมาณพอเหมาะกับยาผง
2. เอายาผงใส่กาละมัง เทแป้งเปียกลงคลุกเคล้ากันทีละน้อยๆ จนเข้ากันดี
3. นำยาที่ผสมแล้ว มาแผ่ลงบนกระจก หนาตามความต้องการ
4. นำแม่พิมพ์ทองเหลืองมากดลงบนแผ่นยา
5. กดเอาเม็ดยาออกจากแม่พิมพ์ใส่ลงในถาด
6. นำเข้าเครื่องอบยาที่อุณหภูมิ 50-55 องศาเซลเซียส นาน 4-6 ชั่วโมง จนยาแห้งสนิทดี ทิ้งไว้ให้เย็น
7. บรรจุยาใส่ขวดหรือถุงปิดให้สนิทเพื่อป้องกันความชื้น


:: การตอกเม็ดยา ::
:: วิธีทำ ::
วัตถุส่วนประกอบ
1. ผงยา 2000 กรัม
2. แป้งมัน 100 กรัม
3. แป้งเปียก 10 % 150 กรัม
4. ผงทัลคัม 70 กรัม
5. แมกนีเซียม สเตียเรต 60 กรัม
:: ขั้นตอนการทำงาน ::
1. นำผงยาและแป้งมัน ในข้อ 1 และ 2 ซึ่งร่อนดีแล้ว มาผสมให้เข้ากันดี
2. นำแป้งมันตามข้อ 3 เติมน้ำ 1500 กรัม กวนเป็นแป้งเปียก 10 %
3. ผสมแป้งเปียกกับผงยาที่ผสมแป้งมันแล้ว ไปผ่านแร่งเบอร์ 14 นำแกรนูลที่ได้ไปอบที่อุณหภูมิ 50-55 องศาเซลเซียส นำยามาผ่านแร่งเบอร์ 18
4. ผสมผงยาที่ได้กับทัลคัมและแมกนีเซียมสเตียเรต ตามข้อ 4 และ 5
5. นำผงยาที่ได้ไปตอกเม็ด ควบคุมน้ำหนักเม็ดยาให้ได้มาตรฐาน
6. นำเม็ดยาไปอบที่อุณหภูมิ 50-55 องศาเซลเซียส นาน 4-6 ชั่วโมง
7. ทดสอบการแตกตัวของเม็ดยา ไม่ควรเกิน 30 นาที


:: การเคลือบยาเม็ดด้วยน้ำตาล ::
:: วัตถุประสงค์ของการเคลือบเม็ดยา ::
1. เพื่อกลบรส กลิ่น และสีของยา ทำให้ยาน่ารับประทานยิ่งขึ้น
2. ป้องกันไม่ให้สารสำคัญเสื่อมสลายเร็ว
3. ทำให้สะดวกในการกลืนยา
4. ควบคุมการออกฤทธิ์ของยาที่มีการระคายเคือง หรือใช้ในยาที่ต้องการให้ไปออกฤทธิ์ในส่วนลำไส้ เช่น ยาแก้ริดสีดวงทวาร เป็นต้น
:: วัสดุอุปกรณ์ ::
1. แป้งทัลคัม 2. น้ำตาลทราย 3.น้ำ 4. กัมอาคาเซีย 5. แชลแล็ค 6. แอลกอฮอล์ 7. ขี้ผึ้งคานูบา 8. ขี้ผึ้งขาว 9. คาร์บอนเตทตระคลอไรด์ 10. สีผสมอาหาร 11. เครื่องเคลือบเม็ดยา 12. เครื่องขัดเงาเม็ดยา
:: ขั้นตอนการเคลือบเม็ดยา ::
1. นำยาลูกกลอนที่แห้งดีแล้วใส่ในเครื่องเคลือบเม็ดยา ละลายแชลแล็ค 4 ส่วน ด้วยแอลกอฮอล์ 6 ส่วน เทลงในถังเคลือบเม็ดยาที่กำลังหมุน ใช้ลมเย็นเป่าจนแชลแล็คแห้งดีแล้วคัดเม็ดยาที่ติดกันออก ทำซ้ำ 1-2 ครั้ง
2. ทำน้ำแป้งทัลคัม โดยใช้แป้งทัลคัม 20-35%, กัมอาคาเซีย5-10%, น้ำตาล 40-50%, น้ำ 20-30% ต้มให้ละลายเป็นเนื้อเดียวกัน
3. นำเม็ดยาที่ได้จากข้อ 1 ใส่ลงในถังเคลือบเม็ดยา เดินเครื่องแล้ว เทน้ำแป้งทัลคัมลงไป พร้อมกับโรยแป้งทัลคัม ใช้ลมร้อนอุณหภูมิ 60-70 องศาเซลเซียส เป่าเม็ดยา เมื่อแห้งดีแล้ว แยกเอาเม็ดยาที่ติดกันออก ทำซ้ำ 8-10 ครั้ง จนเม็ดยาเป็นสีขาว
4. เคลือบสีรองพื้น โดยนำสีเพียงเล็กน้อยมาผสมน้ำแป้งทัลคัม เทลงในถังเคลือบเม็ดยาในขณะเดินเครื่อง เป่าให้แห้ง แล้วทำซ้ำ 3-4 ครั้ง
5. เคลือบสี โดยใช้น้ำตาล 2 ส่วน กับน้ำ 1 ส่วน ทำเป็นน้ำเชื่อม เติมสีตามความต้องการ นำไปเคลือบซ้ำบนเม็ดยา จนได้สีตามต้องการ
6. เคลือบเงา โดยใช้ ขี้ผึ้งคานูบา 40 ส่วน ผสมขี้ผึ้งขาว 4 ส่วน ละลายในคาร์บอนเตทตระคลอไรด์ 95% นำมาใส่ในเครื่องเคลือบเม็ดยา
7. นำเม็ดยามาขัดเงาด้วยเครื่องขัดเงาจนสวยงามตามต้องการ


:: การสุมยา ::
:: ขั้นตอนการสุมยา ::
1. นำตัวยาที่จะสุม มาสับเป็นชิ้นเป็นท่อนขนาดพอเหมาะ ใส่ลงในหม้อดินใหม่
2. นำดินสอพองมาบดผสมน้ำพอข้นๆ โป๊วยาแนวฝาหม้อให้สนิท
3. นำไปสุมไฟตามกรรมวิธีของการสตุหรือฆ่าฤทธิ์ของตัวยานั้นๆ เช่น หัวงูเห่าหรือสมุนไพรที่มีพิษ สุมด้วยไฟแกลบทั้งคืน, ตัวยาอื่นๆ อาจสุมด้วยฟืนหรือถ่านได้
4. เมื่อสุมจนตัวยากลายเป็นถ่านหมดทั่วกันแล้ว ทิ้งไว้ให้เย็น จึงนำไปผสมยา

อ้างอิง
http://www.panyathai.or.th/wiki/index.php/%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B9%84%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2

นี่ไงล่ะ ....7 สิ่งที่ทำให้หญิงเบื่อชาย

 

 

1. ต่อมรับรู้อารมณ์ "เสื่อม"
ผู้ชายชอบ ยึดมั่นว่า ตัวเองนั้นเป็นเพศที่ใช้เหตุผล มากกว่าอารมณ์ จึงเห็นว่า การแสดงอารมณ์ของผู้หญิงไม่ว่า จะเป็นอาการน้อยใจ หึง โกรธ คิดมากนั้น เป็นเรื่องไร้สาระ จึงทำตัวเฉยเสีย ไม่สนใจ คิดไปเองว่า เป็นได้ ก็หายเอง ... อ้าว ! คุณคะ ถ้าเค้าไม่รักคุณ เค้าจะน้อยใจ จะหึง จะโกรธคุณเหรอคะ ... ระวังนะคะ ถ้าแฟนสาวของคุณเริ่มมีอาการ เฉยๆ ไม่ว่าคุณจะทำอะไร ยิ้ม รับง่าย ๆ ไม่ว่าคุณจะไปทางไหนล่ะก้อ ขอให้รับทราบได้เลยว่า เจ้าหล่อนหมดรักคุณไปเรียบร้อยแล้วค่ะ


2. ต่อมเสมอต้นเสมอปลาย "วาย"
ตอนจีบใหม่ ๆ เอาใจสารพัด เช้าถึง เย็นถึง จะทำอะไร จะไปไหนเนี่ย "อย่าลืมทานข้าวนะจ๊ะ" ... "อย่านอนดึกนะจ๊ะ" ... จะหันไปทางไหน ตามพันแข้งพันขา เรียกได้ว่า เป็นช่วงทองของคุณผู้หญิงเลยนะคะ เพราะหลังจากที่คุณตกลงปลงใจกับพ่อหนุ่มตัวดีเรียบร้อยแล้ว ขอให้พึงสังวรได้เลยว่า จะไม่ได้รับการปฏิบัติหรือ เอาใจเยี่ยงนี้อีกแล้ว เพราะต่อมความเสมอต้นเสมอปลายของพ่อตัวดีนั้น วาย ไปซะแล้ว



3. เริ่มแสวงหา "งู" มาเป็นสัตว์เลี้ยงก็ เข้าใจนะคะว่า อาการเจ้าชู้ กับ ผู้ชายน่ะเป็นของคู่กัน แหม ... อยากให้เราปลง ทีเราหึง ซึ่งเป็นอาการปกติของผู้หญิง ก็มาว่าเราไร้สาระ ... อดไม่ได้หรอกค่ะ ช่วงเดือนแรก ไปไหนมาไหน กินอะไร นั่งมองแต่เรา จนเราเขิลลลล ... แต่นาน ๆ ไปชัก สอดส่ายสายตาไปทั่ว ถ้าไม่เรียกให้รู้สึกตัว ก็มองตามไปนู่น แม่สาวสายเดี่ยวที่เพิ่งเดินสวนกันไป นี่มันอะไรกันจ๊ะ ไหนว่าไม่อยากให้หึง แล้วทำตัวหัวงูทำไม ?



 


4. ต่อมวิเคระห์เหตุผล ผิดปกติ
ไม่ รู้ไปฝังหัวความเชื่อกันมาจากไหนกันว่า "ผู้ชายชอบใช้เหตุผล ผู้หญิงชอบใช้อารมณ์" ยันกันได้เลย ดิฉันว่า เหตุผลที่พวกผู้ชายเค้าว่า ก็แค่ เหตุผลที่เค้าคิดขึ้นมาเองมากกว่า ยกตัวอย่างง่าย ๆ ผู้หญิงซื้อเสื้อผ้า ก็ว่า ... ไร้สาระ อ้าว !! ที่พวกคุณบ้า กอล์ฟ คอมพิวเตอร์ รถกระป๋อง นั้น มีสาระมาก ๆ ล่ะสิคะ คิดว่าคุณผู้หญิงบางท่าน บางครั้งต้องเจอเหตุการณ์ที่ทำให้ต้องถามตัวเองว่า เอ๋ ?? นี่ชั้นไร้เหตุผล หรือ เค้าไร้สาระกันแน่นะ ทำไมล่ะคะ ต่างตนต่างมีงานอดิเรกที่ชอบ มีสิ่งที่ทำแล้วสบายใจ การที่คุณจะตีค่าว่า สิ่งที่อีกคนนั้นเป็นสิ่งไร้สาระนั้น ไม่แสดงว่าคุณใจแคบไปหน่อยเหรอคะ ถ้าคุณผู้ชายทั้งหลายคิดว่าตัวเองเป็นเพศที่มีเหตุผลแล้วไซร้ ดิฉันว่าน่าจะลองคิดตริตรอง และเปิดใจกว้างกว่านี้อีกสักนิด .. จะน่ารักมาก ๆ


5. ชอบวางอำนาจ ใจร้อน
สงสัยจะเข้าใจคำว่า "ผู้หญิงเป็นช้างเท้าหลัง" ผิด ... จึงได้ชอบออกคำสั่ง ผมต้องเป็นผู้นำ สิ่งที่ผมคิดเนี่ย ถูกที่สุดแล้ว !! เอ๋ ?? เข้าใจไรผิดไปเปล่าคะ (O_o) สำนวนข้างต้นเนี่ย มาจากธรรมชาติของช้างที่ว่า เวลาเดิน ช้างจะยกเท้าหลังก่อน แล้วเท้าหน้าจึงก้าว ... ดังนั้นโบราณเค้าหมายความว่า ผู้หญิงน่ะ เป็นผู้นำ เจ้าค่ะ มีอะไรต้องฝังเพศแม่บ้าง เพศหญิงเนี่ย เป็นเพศที่มีความละเอียด รอบคอบ ค่อยคิดค่อยทำ ไม่บ้าเลือด นี่ไงล่ะคะ ผลสำรวจถึงได้ว่า ผู้หญิงอายุยืนกว่าผู้ชาย ก็ผู้ชายน่ะใจร้อน บางครั้งเลยเอาปากไปแหย่เท้า ผู้มีอำนาจ เลยซี้ม่องไปซะก่อนวัยอันควร ผู้หญิงเราบางครั้งก็ระอากับ อาการใจร้อน ยอมไม่ได้ของคุณ ๆ
เหมือนกันนะคะ ... ขอบอก



 

6. ลำเอียง เข้าข้างตัวเอง
คิดว่าข้าเก่ง ... ข้าแน่ ... ผู้ชายชอบคิดเข้าข้างว่าตัวเอง เก่ง เจ๋ง ... แหม ไม่อยากจะพูดก็ต้องพูด เบื้องหลังความสำเร็จของผู้ชายหลายคนเนี่ย มาจากการมีคู่คิด คู่เคียงที่ดีนะเจ้าคะ แต่ด้วยความเป็นผู้หญิง ก็ไม่อยากจะล้ำหน้า เดี๋ยวจะโดนใบแดงออกจากสนาม ... ก็ได้แต่ เป็นผู้สนับสนุน ปิดทองหลังพระ โดยไม่มีใครรู้ ... จนบางครั้งทำให้พวกหนุ่ม ๆ ลืมตัวไปว่า กว่าจะมีวันนี้ เพราะมีใครคอยช่วยหนุนหลัง คอยเป็นกำลังใจ ข้าได้ดี เพราะข้าเองนี่แหละ อันนี้มีเรื่องมาเล่าให้ฟัง ...

สมัย ที่ บิล คลินตัน ยังดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี แห่งสหรัฐอเมริกา เมื่อครั้งไปเยี่ยมประชาชนที่รัฐๆ หนึ่ง ขณะนั่งในรถและกำลังเดินทางกลับ ก็เหลือบไปเห็นผู้ชายคนหนึ่ง ยืนโบกมือให้ และภรรยาของเขา ฮิลลารี่ คลินตัน ได้โบกมือตอบ จึงถามไปว่า
บิล : นั่นใคร ?
ฮิลลารี่ : อ๋อ แฟนเก่าชั้นเอง เค้าเป็นเจ้าของฟาร์ม อยู่ที่นี่
บิล : (หัวเราะ) นี่ถ้าคุณตกลงแต่งงานไปกับเค้า ตอนนี้คุณก็คงได้เป็นแค่ เมียเจ้าของฟาร์มล่ะสิ
ฮิลลารี่ : ไม่หรอก ถ้าชั้นแต่งงานกับเค้า ประเทศเราจะมีประธานาธิบดี ที่อดีตเคยเป็นเจ้าของฟาร์มต่างหาก
บิล : !!???!!??!!

ว่ากันว่า ผู้นำหลายคนในโลกนี้ ล้วนประสบความสำเร็จได้ เนื่องจากมีผู้หญิงเป็นแรงหนุนที่ดี แต่สงสัยว่าบรรดาคุณผู้หญิงเหล่านี้ จะเห็นว่า บรรดาผู้ชายล้วนหลงตัวเอง และไม่เห็นบุญคุณ สมัยนี้เราจึงเห็น ผู้หญิง หลายคนก้าวขึ้นมามีบทบาทในตำแหน่งผู้นำกันเอง ไม่ว่า จะเป็นเจ้าของธุรกิจ หรือ ผู้นำประเทศก็ตาม



7. ต่อมรัก "เพื่อน" แตก !!
ประการที่ 7 นี้เป็นสิ่งที่คุณผู้หญิงทั้งหลายต่างทราบกันดี ว่าผู้ชายของเรานั้น ล้วนรักเพื่อนมากมายขนาดไหน แล้วจะไม่ให้เราเบื่อได้ไงล่ะคะ ก็นัดเราอยู่ดี ๆ พอเพื่อนโทรมา กลับเลื่อนนัดเราซะได้ หรือไม่เวลาเราชวนไปไหน บอกไม่ว่างร่ำไป แต่พอเพื่อนโทรมากริ๊งเดียว ถึงกับแล่นออกไปในทันที ก็เห็นกันอยู่ชัด ๆ ขนาดนี้ ทีหลังก็ให้เพื่อนนั่นแหละค่ะ มาพัดมาวี มาเอาอกเอาใจแทนแล้วกัน แหม ... พูดแล้วหงุดหงิดใจ






เอาแค่เบาะ ๆ แค่ 7 ข้อแล้วกันนะคะ เพราะเค้าว่าพูดหญิงน่าเบื่อแค่ 7 ข้อ เราก็เบื่อคุณผู้ชายแค่ 7 ข้อ พอหอมปากหอมคอ อย่าเคืองกันแล้วกันนะ...พ่อคุณ ไหน ๆ คุณก็ว่าพวกเราว่า ขี้บ่น อยู่แล้วนี่นา บ่นแค่นี้ก็อย่าถือเลย ถือว่าเป็นแค่อารมณ์เล็ก ๆ ของผู้หญิงคนหนึ่งแล้วกันจ๊ะ